วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Sick Building Syndrome;SBS โรคจากอาคาร


 


อาการ ที่ปรากฏคือ อ่อนล้า ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ คัดจมูก ไอ จาม เกิดผื่นผดคัน ระคายเคืองดวงตา และมีความผิดปกติของประสาทรับกลิ่น เป็นต้น

มีข้อสังเกตให้พิจารณาสองประการ
1. คนที่อยู่ในห้อง หรือในตึกเดียวกันมีอาการเหล่านี้เหมือนกันหรือไม่
2. อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในตึกเท่านั้น เมื่อออกมาภายนอกจะไม่หลงเหลืออาการใช่ไหม

โรคจากอาคาร จะ ทำให้พนักงานเจ็บป่วยทั้งร่างกาย และจิตใจ ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข คนทำงานจะมีสภาพไม่พร้อมที่จะทำงาน สุดท้ายอาจแย่ถึงขนาดส่งผลต่อกิจการขององค์กรเลยที่เดียว
 
  • สาเหตุของโรคจากอาคาร


        โรคและกลุ่มอาการป่วยจากอาคาร เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคาร โดยเป็นผลจากการสัมผัสกับสารพิษหรือสารเคมีอันตรายในอาคารบ้านเรือนหรือที่ ทำงาน ซึ่งอาจเป็นอาคารเก่าหรืออาคารที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ ก็ได้
        ปัจจัยหลักของกลุ่มอาการนี้เกิดจากการอาศัยอยู่ ในช่วงเวลานาน ๆ ในอาคารที่มีการระบายอากาศไม่ดี เช่น ใช้ระบบทำความเย็นและระบบระบายอากาศหมุนเวียนเพื่อประหยัดไฟฟ้า อาคารดังกล่าวมักปิดมิดชิด ไม่เปิดหน้าต่าง อากาศไม่ถ่ายเท ทำให้ภายในอาคารอบอวลไปด้วยสารมลพิษในอากาศหลายชนิด ได้แก่ สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds: VOCs) โดยเฉพาะฟอร์มาลดีไฮด์  ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของกาวที่มักใช้กับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น พาร์ทิเคิลบอร์ด ไม้อัด รวมถึงผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ พรม วัสดุฉนวน น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ตลอดจนสีทาบ้านที่ไม่ได้มาตรฐาน ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ถ้ามีอยู่ในอากาศมากกว่า 0.1 ppm (ส่วนในล้านส่วนของอากาศ) อาจทำให้แสบตา ระคายเคืองเยื่อจมูกและคอ คลื่นไส้ ไอ แน่นหน้าอก เป็นผื่นแพ้ องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าสารนี้เป็นสารก่อมะเร็งใน สัตว์ทดลอง และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งในคนได้  ทั้งนี้มีการศึกษาพบว่า ร้อยละ 90 ของอาคารที่มีการตกแต่งห้องใหม่ ใช้เฟอร์นิเจอร์ใหม่มีปริมาณของฟอร์มาลดีไฮด์เกินมาตรฐาน หรือแม้แต่อาคารที่ใช้งานมานานแล้ว ฟอร์มาลดีไฮด์ก็ยังสามารถระเหยต่อเนื่องได้อีกนานหลายปี !!!

        นอกจากนี้ สารมลพิษที่พบได้ทั่วไปในอาคารที่เป็นสาเหตุของโรคจากอาคารยังประกอบไปด้วย
  • ฝุ่นละอองและควันพิษ ทั้งจากภายนอกอาคารที่ฟุ้งกระจายและเล็ดลอดเข้าไปรวมทั้งฝุ่นภายในอาคารเอง โดยเฉพาะในสำนักงานบริเวณเครื่องถ่ายเอกสาร จะมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนปริมาณมาก ฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้สามารถเข้าไปสู่ระบบหายใจ ทำให้ระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้สมรรถภาพการทำงานของปอดเสื่อมลง

  • เชื้อรา ในอาคารที่อับทึบ หากไม่มีการดูแลรักษาระบบทำความเย็นและระบบระบายอากาศอย่างเหมาะสม จะก่อให้เกิดความชื้นในอากาศ ส่งผลให้สปอร์รามีการเจริญแพร่กระจายและสะสมในอาคารโดยเฉพาะห้องที่ปูพรมและ เปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวัน ความเย็นจะส่งผ่านไปยังพรมทำให้เกิดความชื้น เกิดเชื้อราหมักหมมใต้พรมทำให้เกิดโรค เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด โรคโพรงจมูกอักเสบ ระคายเคืองตา เป็นต้น
  • เชื้อโรคและสารชีวภาพอื่น ๆ  เช่น แบคทีเรีย ไวรัส มูลนก ละอองเกสร ขนสัตว์ ฯลฯ  สารเหล่านี้มักปนเปื้อนและฟุ้งกระจายในห้อง นอกจากนี้ ยังมีเชื้อโรคที่แพร่จากคนที่พักอาศัยอยู่ในอาคาร เมื่อมีการไอหรือจามก็จะทำให้เชื้อโรคกระจายวนเวียนอยู่ในอาคาร ซึ่งหากมีคนอยู่แออัดมากเกินไปก็จะยิ่งมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมากขึ้น

  • ไรฝุ่น มักอาศัยในที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ พบมากตามที่นอน ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม และผ้าม่าน ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่น มักจะมีอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล คันคอ ไอ หรือหอบหืด และเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้
  • ยาฆ่าแมลง ยากำจัดปลวก หนู แมลงสาบที่ใช้ในอาคารบ้านเรือน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ผู้ที่ได้รับสัมผัสมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก ตาพร่ามัว ม่านตาหรี่ น้ำลายและเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง

  • ก๊าซและสารระเหย เช่น ก๊าซหุงต้ม และเบนซีน (Benzene) เป็นต้น ซึ่งเป็นสารที่ปล่อยออกมาระหว่างการสูบบุหรี่ การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ กาว สี และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ไอระเหยของเบนซีนทำให้เซื่องซึม เวียนศีรษะ และหมดสติ การสูดดมหรือสัมผัสกับเบนซีนเป็นเวลานานจะมีผลต่อไขกระดูกและทำให้เป็นโรค โลหิตจางและโรคมะเร็งโลหิตได้
  • ฉนวนใยหิน ใยแก้ว ที่ใช้ทำวัสดุกันความร้อน ซึ่งอาจมีฝุ่นละอองก่อให้เกิดมะเร็งปอดและปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ อาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ กระวนกระวาย คลื่นไส้ วิงเวียน เมื่อยล้า เซื่องซึม และเกิดความผิดปกติสำหรับหญิงมีครรภ์และบุตรได้
  • โรคจากอาคาร ป้องกันได้อย่างไร

        โรคจากอาคารสามารถป้องกันได้ตั้งแต่การวางแผน ก่อสร้างอาคารที่ได้มาตรฐาน โปร่ง ระบายอากาศได้ดี มีการออกแบบกั้นบริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารระเหยแยกจากห้องทำงานของ พนักงาน เช่น ห้องถ่ายเอกสาร ห้องปริ้นท์งาน ห้องเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และกำหนดเขตห้ามสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ควรใช้วัสดุก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพดี มีสารมลพิษและไอระเหยน้อยที่สุด เช่น ใช้สีทาผนังแบบที่ไม่มีโลหะหนักผสมและมีสารป้องกันเชื้อรา ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้จริงหรือใช้วัสดุทดแทนที่ปลอดภัย ที่สำคัญคือ ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จึงไม่ควรใช้พรมโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ ควรจัดให้มีระบบระบายอากาศที่ดี เช่น ติดตั้งช่องลม หรือพัดลมดูดอากาศเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกโดยเฉพาะบริเวณที่มีสารเคมี ระเหยออกมาได้ เช่น ห้องน้ำ ห้องถ่ายเอกสารหรือห้องที่มีปริ๊นเตอร์ และอาจใช้เครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น
สำหรับผู้อยู่อาศัยควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคจากอาคาร ดังต่อไปนี้
  • กรณีเป็นอาคารใหม่ ควรเว้นช่วงเวลาที่ให้สีและสารระเหยจากการตกแต่งอาคารระบายออกไปก่อนเข้าใช้อาคาร
  • หมั่นทำความสะอาดห้องและเฟอร์นิเจอร์เพื่อลดปริมาณฝุ่นและเชื้อรา สำหรับผ้าม่านและพรมควรทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ล้างแผ่นกรองฝุ่นของเครื่องปรับอากาศทุก 2 สัปดาห์ และทำความสะอาดล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยทุก 6 เดือนต่อครั้ง
  • เมื่อปิดเครื่องปรับอากาศ ควรเปิดหน้าต่างให้มีอากาศจากภายนอกหมุนเวียนในอาคาร และควรให้มีแสงแดดส่องเข้ามาในห้องบ้าง เพื่อลดความชื้นและเชื้อโรคต่าง ๆ  ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ไอออนลบและโอโซนตามธรรมชาติช่วยในการขจัดสารพิษในอาคารได้ด้วย
  • ควรจัดห้องให้โล่งและมีเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นที่สุด อย่าให้มีซอกมุมเก็บฝุ่น
  • นำกิจกรรม 5 ส มาใช้ โดยหมั่นรักษาความสะอาดและสะสางวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น กระดาษเก่า ๆ ไม่ควรกองทิ้งไว้ เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของฝุ่น และไม่ควรทิ้งขยะค้างคืนไว้ในสำนักงาน เพราะจะเป็นแหล่งอาหารของหนู และแมลงสาบ ฯลฯ
  • นำต้นไม้ในร่มมาปลูกและวางประดับไว้ตามจุดต่าง ๆ ในห้องหรือสำนักงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีแล้ว ยังช่วยฟอกอากาศและลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะไม้ประดับบางชนิดมีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษในอากาศได้ เช่น พลูด่าง เดหลี บอสตันเฟิร์น ลิ้นมังกร หมากเหลือง ว่านหางจระเข้ เสน่ห์จันทร์แดง สาวน้อยประแป้ง ออมเงินออมทอง โกสน และไอวี เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

เครื่องไตเทียม

เครื่องไตเทียมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นี้อาศัย การแลกเปลี่ยนสารระหว่างเลือดกับไดอะลัยเซต โดยอาศัยการแพร่กระจาย การกรองหรือโดย ออสโมซิส ทำให้ของเสียในร่างกายจะถูกส่งจาก เลือดผ่านไดอะลัยเซอร์เข้าไปยังไดอะลัยเซต จึง ทำให้ของเสียในร่างกายที่คั่งอยู่ซึ่งไม่สามารถขับ ออกได้โดยไตธรรมชาติก็จะสามารถขับออกได้โดยไตเทียม เครื่องไตเทียมที่ใช้กันนั้น ใช้หลักการของการไดอะลัยซิสของเลือด ดังนั้น จึง เรียกว่าเครื่องเฮโมไดอะลัยซิส (hemodialysis)

ระบบและการทำงานของเครื่องไต เทียม
         เครื่องไตเทียมประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓  ส่วน คือ (๑) หน่วยนำไดอะลัยเซต (dialysate delivery unit) (๒) หน่วยนำเลือดออกนอกร่าง  กาย (extracorporeal blood delivery unit) (๓) หน่วยโมนิเตอร์ (monitoring unit) และ (๔)ไดอะลัยเซอร์ (dialyzer)

         ก. หน่วยนำไดอะลัยเซต ที่ใช้กันมี ๓ ระบบ คือ (๑) ระบบที่ไหลเวียนกลับมาอยู่ตลอด  เวลา (continuous recirculation system) ระบบนี้ ไดอะลัยเซตจะถูกส่งจากถังเก็บผ่านไดอะลัยเซอร์ แล้วไหลกลับ (๒) ระบบที่ไหลเวียนกลับเพียง บางส่วน (partial recirculation system) ระบบ นี้ปล่อยให้ไดอะลัยเซตไหลเวียนเข้าห้องสำหรับไดอะลัยส์ส่วนหนึ่ง แล้วปล่อยทิ้งไปส่วนหนึ่งและนำเอาไดอะลัยเซตใหม่เข้ามาแทนที่อยู่ตลอดเวลา (๓) ระบบที่ให้ผ่านครั้งเดียว (single pass system) ระบบนี้ใช้ไดอะลัยเซตใหม่ผ่านไดอะลัย เซอร์ โดยไม่นำกลับมาอีก
        สำหรับวิธีไหลเวียนกลับมาตลอดเวลานั้น ต้องใช้ไดอะลัยเซต ให้ไหลผ่านห้องสำหรับ ไดอะลัยส์ประมาณ ๗ ลิตร/นาที ส่วนวิธีที่ให้ ไหลผ่านครั้งเดียวมักให้ไดอะลัยเซตไหลโดยมี อัตราเพียง ๐.๕ ลิตร/นาทีเท่านั้น
       ไดอะลัยเซตที่เตรียมไว้ใช้ไดอะลัยส์ ต้องมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของเลือด จึงต้องมี เครื่องอุ่นและเครื่องควบคุมให้มีอุณหภูมิตามที่ ต้องการคือ ๓๗ องศาเซลเซียส ในบางแห่งเตรียมไดอะลัยเซตไว้ที่อุณหภูมิต่ำ  ๆ แล้วจึงค่อยทำให้
อุ่นขึ้นเมื่อจะทำไดอะลัยส์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ระบบส่งน้ำยาไดอะลัยเซตอาจเตรียมไว้สำหรับใช้กับผู้ป่วยคน เดียว แต่ในศูนย์ที่ทำไตเทียมโดยเฉพาะอาจทำ ถังเก็บขนาดใหญ่สำหรับใช้กับผู้ป่วยหลาย  ๆ คน
ก็ได้

         ข. หน่วยนำเลือดออกนอกร่างกาย อาจ ใช้วิธีนำเลือดโดยอาศัยความดันบวกทำให้เกิดการกรองโดยใช้ความดันบวก (positive pressure ultrafiltration) หรืออาจใช้แรงดูดที่ทำให้เกิด การกรองโดยใช้ความดันลบ (negative pressureultrafiltration)

        ค. หน่วยโมนิเตอร์ เพื่อที่จะทำให้เครื่องไตเทียมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้อง  มีหน่วยโมนิเตอร์เพื่อตรวจวัดการทำงานของ ระบบต่าง  ๆ  ทั้งข้อมูลของไดอะลัยเซตทางด้าน ความเข้ม อัตราการไหล อุณหภูมิ และความดัน
นอกจากนั้นยังต้องโมนิเตอร์ระบบของเลือดที่ ส่งออกมาจากตัวผู้ป่วย และโมนิเตอร์สภาพของ ตัวผู้ป่วยเองด้วย

        ง. ไดอะลัยเซอร์ ไดอะลัยเซอร์สำหรับใช้ ในการแลกเปลี่ยนของสารต่าง  ๆ นั้นเป็น อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเครื่องไตเทียม ได้ มีการสร้างไดอะลัยเซอร์เป็นแบบท่อขด (coil) หรือเป็นแบบแผ่น (plate) แต่พบว่ามีขนาดโต
ดังนั้น ในปัจจุบันนี้จึงมีการสร้างไดอะลัยเซอร์ ชนิดที่เป็นท่อกลวงขนาดเล็ก (hollow fiber dialyzer) โดยท่อเล็กที่อยู่ภายในนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๒๕๐ ไมครอน และมีความยาว ประมาณ ๓๐ ซม. ไดอะลัยเซอร์ที่ทำเป็นท่อกลวง ซึ่งใช้กันทั่วไปนั้น จะมีท่อกลวงขนาดเล็กจำนวน  ถึง ๑๐,๐๐๐ ท่อ ท่อเล็ก  ๆ ดังกล่าวนี้นำมารวม กันเป็นมัด และนำไปบรรจุในกระบอกพลาสติกโดยวิธีทำให้ได้ไดอะลัยเซอร์ซึ่งมีพื้นที่แลก เปลี่ยน มากแต่มีขนาดเล็ก

         ในปัจจุบันนี้เครื่องไตเทียมได้ก้าวหน้าไป มาก โดยได้นำคอมพิวเตอร์มาประกอบเข้าเป็น  ส่วนหนึ่งของเครื่อง โดยมาช่วยควบคุมการทำ งานของระบบต่าง  ๆ และแสดงข้อมูลต่าง  ๆ ที่ ได้โมนิเตอร์ไว้ รวมทั้งการจัดตั้งโปรแกรมการ
ทำงานของเครื่องซึ่งรวมทั้งปริมาณและความเข้มของไดอะลัยเซตที่ต้องการใช้อีกด้วยa

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เซลล์ชรา



telomerase
                       นักวิทยาศาสตร์พบว่าโมเลกุลชนิดหนึ่งซึ่งใช้เป็นดัชนีชี้บอกว่า เซลล์ใดเป็นเซลล์ชรา โมเลกุลดังกล่าวคือ เอนไซม์กาแล็กโตไซเดส (galactosidase) ในรูปซึ่ง ผิดปกติ โดยการใช้ดัชนีดังกล่าวนักวิจัยพบว่าในบุคคลอายุ 30 เศษ ๆ นั้นเกือบไม่มีเซลล์ชราเลย ผิดกับในบุคคลอายุ 70 หรือ 80 ซึ่งมีเซลล์ชราอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามผิวหนังทั้งผิว-หนังแท้และผิวหนังกำพร้า
                       เซลล์ชราเหล่านี้มีโปรตีน ยีน และกระบวนการทางชีวเคมีบางอย่างที่เปลี่ยนไป โดยที่การเปลี่ยนเหล่านั้นสามารถทำให้เซลล์ที่ว่าเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติได้ ยกตัวอย่าง เช่น เซลล์ผิวหนังที่ชราจะสร้างเอนไซม์คอลลาจิเนส ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ขณะที่เซลล์ผนังหลอดเลือด ลำไส้ และอวัยะภายในจะหลั่งสารอินเตอร์ลูคิน 1 ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อเมื่อเซลล์นั้นแก่ตัวลง
ยีนซึ่งควบคุมการสร้างเอนไซม์ชื่อทีโลเมอเรส (telomerase) อันเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันมิให้ส่วนปลายของโครโมโซมหดสั้นลงอาจเป็นกุญแจสำคัญสำหรับไขประตูแห่งความเป็นอมตะก็ได้ ถึงแม้ว่าเซลล์ทุกเซลล์ภายในร่างกายของเรามียีนนี้อยู่ แต่ก็มีเซลล์เพียงไม่กี่เซลล์เท่านั้นที่เปิดไฟเขียวให้ยีนดังกล่าวทำงานได้ ยกเว้นเซลล์เนื้องอกที่เปิดไฟเขียวให้ยีนนี้ตลอดเวลา มีหลักฐานงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เอนไซม์ทีโลเมอเรสนี้ช่วยให้เซลล์เนื้องอกอยู่ยงคงกระพัน นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดโทษกับร่างกายอาจเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่ทำให้เซลล์ปกติอ่อนเยาว์ ด้วยเหตุผลเป็นอย่างนี้
เมื่อเซลล์แบ่งตัวครั้งแล้วครั้งเล่า เหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เป็นผลจากการแบ่งเซลล์คือ ส่วนปลายของโครโมโซมเรียกว่า ทีโลเมียร์ จะเกิดการสึกกร่อนทีละน้อย จนที่สุดส่วน ดังกล่าวก็หลุดหายไปทิ้งให้โครโมโซมอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถจำลองตัวได้อย่างที่เคยทำมาตลอดทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ส่งผลให้ดีเอ็นเออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายและสูญหายได้ โดยสรุป การสึกกร่อนของส่วนทีโลเมียร์เป็นคล้ายระเบิดเวลาที่ส่งเสียงติ๊ก ๆ อยู่ภายในเซลล์ เมื่อเกิดการระเบิดขึ้น เซลล์ที่ได้รับความเสียหายก็จำเป็นต้องแก่ตัวลงเพื่อจำกัดความเสียหาย
               ในเซลล์บางชนิดเอนไซม์ทีโลเมอเรสทำหน้าที่เหมือนน้ำซึ่งทำให้ชนวนระเบิดเปียกอันเป็นการยุติการหดสั้นของทีโลเมียร์ลง ยกตัวอย่างเช่น สเปิร์มหรือเซลล์ตัวอสุจิ ไม่ว่าจะมีการแบ่งตัวกี่ครั้งกี่หนภายในลูกอัณฑะส่วน ปลายของโครโมโซมก็ไม่เคยหดสั้นลงเลย ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทีโลเมอเรสทำงานแข็งขันตลอดเวลา หลักฐานอีกประการหนึ่งที่บอกนับว่าเอนไซม์นี้น่าสนใจคือ ความที่เซลล์ของตัวอ่อน (embryo) ก็มีเอนไซม์ทีโลเมอเรสที่แข็งขันเช่นกัน ซึ่งก็สอดคล้องด้วยดีกับความจริงที่ว่าเซลล์ของตัวอ่อนแบ่งตัวกันอย่างมากมายในมดลูก ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ชี้ว่าอาจเป็นไปได้ที่เราสามารถยืดส่วนปลายของโครโมโซมให้ยาวขึ้นเพื่อทำให้เซลล์ที่มีอายุมากกลายเป็นเซลล์เด็กได้ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าโมเลกุลที่คล้ายดีเอ็นเอซึ่งช่วยให้ส่วนปลายของโครโมโซมในเซลล์มะเร็งยืดยาวขึ้น นักวิจัยจึงนำเซลล์มะเร็งมาผสมกับเซลล์ปกติเกิดเป็นเซลล์ลูกผสมซึ่งไม่เป็นเซลล์มะเร็ง แต่มีส่วนปลายของโครโมโซมที่ยาวกว่าเซลล์ปกติและมีอายุยืนเป็น 2 เท่าของเซลล์ปกติอีกด้วย
             นักวิจัยผู้หนึ่งในกลุ่มลงความเห็นว่า ผลการทดลองยืนยันว่า ความยาวของส่วนปลายโครโมโซมคือนาฬิกาที่คอย "จับ" จำนวนครั้งของการแบ่งเซลล์ แต่นักชีววิทยายังไม่เชื่อง่าย ๆ จนกว่าจะมีใครสักคนค้นพบยีนของเอนไซม์ทีโลเมอเรสและใช้เทคนิคด้านพันธุวิศวกรรมทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมให้หนูทดลองมีส่วนปลายโครโมโซมที่ยาวขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าหนูทดลองดังกล่าวมีอายุยืนยาวกว่าหนูปกติ






วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิตามินเพื่อบำรุงสมอง vitamins for the brain


วิตามินบี 1

อาหารที่มีวิตามินบี 1, ได้แก่ ข้าวซึ่งไม่ขัดขาวทุกชนิด ถั่วลิสง ผักทุกชนิด นม ยีสต์ และปลา. วิตามินบี 1 ไม่ได้ช่วยบำรุงสมองอย่างเดียว แต่ยังช่วยทำให้ร่างกายทั้งหมดมีพละกำลังแข็งแรงด้วย

วิตามินบี 2

อาหารที่มีวิตามินบี 2,ได้แก่ ยีสต์ เนยแข็ง ผักใบเขียว ปลา

วิตามินบี 6

อาหารที่มีวิตามินบี 6, ได้แก่ ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าว แคนตาลูป กะหล่ำปลี

วิตามินบี 12

อาหารที่มีวิตามินบี 12,ได้แก่ เนยแข็ง ปลา

Inositol and Choline

ได้จากผักใบเขียว, ยีสต์ ,จมูกข้าว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วแดง ,แคนตาลูป, ส้มโอ,องุ่นแห้ง, ถั่วลิสง, และกะหล่ำปลี

เลซิทิน ( Lecithin )

มีในถั่วเหลือง ข้าวโพด ถ้าคุณอยากจะกินเป็นเม็ด ซึ่งมักจะทำเป็นแคปซูลขนาดประมาณ 1,200 มิลลิกรัมให้กินวันละ 1 เม็ด

โพแทสเซียม (Potassium)

อาหารที่มีโพแทสเซียม ได้แก่ ผลไม้ซึ่งมีรสเปรี้ยว, แคนตาลูป, ฟัก ,น้ำมะเขือเทศ, ผักใบเขียว, สะระแหน่, เมล็ดทานตะวัน, กล้วย และมันฝรั่ง

กำมะถัน (Sulfur)

อาหารที่มีกำมะถัน ได้แก่ ถั่วแดง, ถั่วดำ, ถั่วเหลือง, ปลา, ไข่ และกะหล่ำปลี

สังกะสี ( Zinc)

อาหาร ที่มีสังกะสี ได้แก่ จมูกข้าว เมล็ดฟักทอง ยีสต์ มัสตาร์ดผง ธาตุสังกะสีเป็นสารสำคัญของร่างกาย จึงอยากจะแนะนำให้กินชนิดเป็นเม็ด 50 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด

นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการกินอาหารเพื่อเพิ่มพลังสมอง ดังนี้

1. จิบน้ำตลอดทั้งวัน
สมองคือการรวมตัวของกลุ่มเซลล์กลุ่มใหญ่ มีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 70-80 เปอร์เซนต์ ทำงานด้วยการส่งผ่านข้อมูลโดยเส้นใยของสมองที่งอกออกมาจากเซลล์ ถ้าขาดน้ำ ขนาดของเส้นใยก็จะหดเล็กลง ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ช้า “ น้ำจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับสมอง หากแต่ละวันดื่มน้ำน้อย จะทำให้เกิดสภาวะการขาดน้ำในเซลล์ส่งผลให้การทำงานของสมองลดประสิทธิภาพลง”
2. จำกัดปริมาณอาหาร
สมองมีน้ำหนักประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย แต่ต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงสมองประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายที่อ้วนเกินไปจึงไม่ใช่ร่างกายที่ดี เพราะนอกจากจะทำให้อวัยวะอื่นๆทำงานได้ช้าลงแล้ว เรายังต้องแบ่งออกซิเจนไปเลี้ยงไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย
3. ไม่กินน้ำตาลทรายขาว
น้ำตาล ทรายขาวจัดเป็นกลูโคสโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมง่าย จึงนำไปใช้งานได้เร็วมาก ซึ่งความเร็วไม่ได้หมายความว่าดี เพราะเมื่อดูดซึมได้ทันที ก็ใช้หมดเร็ว ก็ไม่มีความเสถียร เราจึงต้องคอยเติมน้ำตาลเข้าไปใหม่ตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากเราได้กลูโคสจากอาหารที่มีเส้นใย ร่างกายจะย่อยได้ช้าลงแล้วค่อยๆ ดูดซึม ทำให้มีความเสถียรมากกว่า ดังนั้นไม่ควรรับประทาน้ำตาลทรายขาว ควรรับประทานน้ำตาลอ้อยแทน
4.จัดสมดุลของสารอาหาร
สมอง ประกอบด้วยน้ำ  ไขมันและโปรตีน นอกจากน้ำแล้วเรายังต้องกินไขมันที่ดี เพื่อส่งเสริมให้สมองสร้างเส้นใยใหม่ได้ ไขมันที่ดี ได้แก่ น้ำมันมะกอก ซึ่งคุณสามารถหยดน้ำมันมะกอกใส่ลงไปในอาหารในแต่ละมื้อของคุณ และกินวิตามินเมล็ดแฟลกซ์ Flax seed เสริมด้วย ส่วนอาหารที่มีโปรตีนได้แก่ น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ เนื้อสัตว์ ปลา และนอกจากนี้ในแต่ละวันคุณควรกินผักและผลไม้ให้เยอะๆ เพื่อเพิ่มสารแอนติออกซิแดนต์ให้แกร่างกายคุณ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชี่กง ฝึกลมหายใจ บำบัดโรค

       ชี่กงคือ การบริหารร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ หายใจ เคลื่อนไหว สมาธิ หลักของชี่กงตรงกับระบบรัการทางการแพทย์แบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการรักษาทางกาย ดังนั้นในการฝึกชี่กง กายคือการเคลื่อนไหว จิตคือภาวะสงบ
        การออกกำลังกายด้วยการฝึกชี่กงไม่ได้เน้นเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นหลัก เพราะคนแข็งแรงไม่จำเป็นต้องกล้ามใหญ่ แต่ต้องมีความว่องไว และความทนทานของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ชี่กงไม่ใช่สูตรสำร็จ จึงควรออกกำลังกายอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จ๊อกกิ้ง ไทเก๊ก หรือรำตะบอง

ผลของชี่กง
 •  ผลของจิตใจ  ที่สงบสบาย  ย่อมทำให้ร่างกายสมดุล  เจ็บไข้ได้ยาก  ที่ป่วยก็หายเร็วขึ้น
 •  ผลของสมาธิ  สมาธิที่เกิดระหว่างการฝึกจะทำให้สมองปลอดโปร่ง  ลดการทำงานของหัวใจ  ความดันเลือดลดลง  เนื่องจากการขยายของหลอดเลือดฝอย  ย่อมผ่นระบบประสาทอัตโนมัติ
 •  ผลของภูมิคุ้มกัน  ภูมิคุ้มกันที่ทำงานสมดุล  พบว่าการฝึกตนเองจะทำให้มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาว  ผู้ที่แพ้อากาศมักมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
 •  ผลต่อระบบโฮร์โมน  ทำให้ระบบฮอร์โมนเกิดความสมดุล  ตั้งแต่ต่อมใต้สมองไปจนถึงต่อมหมวกไต
 •  ผลของการออกกำลังกาย  การออกกำลังกายพร้อมกันทั้งกายใจ  ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง

กระบวนท่าในการฝึกชี่กง
 •  ท่าที่ 1ปรับลมปราณ 


  วางเท้าแยกกันด้วยความกว้างเสมอไหล่ ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า ปล่อยแขนทั้งสองข้างวางข้างลำตัว ค่อยๆหงายฝ่ามือแล้วยกขึ้น ผ่านทรวงอกถึงระดับคาง หายใจเข้าช้าๆแล้วควำฝ่ามือ ลดลงจนถึงระดับเอว ย่อเข่า จังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

  •  ท่าที่ 2 ยืดอกขยายทรวง

  จากท่าที่ 1 ซึ่งยังคงย่อเข่า ค่อยๆยกมือขึ้น และเคลื่อนมาช้าๆมาด้านหน้าจนถึงระดับอก จึงค่อยๆกางแขนออกไปจนสุดแขน หายใจเข้าช้าๆ ค่อยๆดึงมือกลับมาในทิศทางเดิม ลดฝ่ามือลงแนบข้างลำตัว ย่อเข่าจังหวะนี้หายใจออกช้าๆ
•  ท่าที่ 3 อินทรีทะยานฟ้า 

  จากท่าที่ 2 กางแขนออกทางด้านข้าง เหยียดขาตรง ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้า ลดแขนลงข้างลำตัว หายใจออก
  •  ท่าที่ 4 ลมปราณซ่านกายา 

  จากท่าที่ 3 ตวัดช้อนข้อมือจากด้านข้างเข้าหาตัว เสมือนเอาพลังจากธรรมชาติเข้ามาในร่างกาย หงายฝ่ามือยกขึ้นจนถึงระดับคาง แล้วคว่ำฝ่ามือลง ลดฝ่ามือ จนถึงระดับเอว ย่อเข่า(หากเป็นท่าจบ เมื่อลดฝ่ามือลงให้แขนแนบลำตัวไม่ต้องย่อเข่า) การวางจิตใจ ให้วางไว้ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง

 

มะเร็งตับอ่อน



โรคมะเร็งตับอ่อน โรคที่คร่าชีวิต Steve Jobs


มะเร็งตับอ่อนคือเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคืออะดีโนคาร์ซิโนมาซึ่งเจริญมาจากเซลล์ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ (ต่อม exocrine) ของตับอ่อน อีกส่วนหนึ่งเป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเซลล์ไอสเล็ท และจัดเป็นเนื้องอกแบบนิวโรเอนโดไครน์ อาการของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง หรือดีซ่านได้

สาเหตุของโรคมะเร็งตับอ่อน?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคมะเร็งตับอ่อน แต่พบปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
    อายุ ดังกล่าวแล้วว่า เป็นโรคของผู้ใหญ่ โดยทั่วไป อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
  • เชื้อชาติ พบโรคได้สูงในคนอเมริกันผิวดำ เมื่อเปรียบเทียบกับคนผิวขาว
  • พันธุกรรมชนิดที่ส่งผลให้มีเนื้องอก และ/หรือมะเร็งได้หลายชนิดเกิด ขึ้นพร้อมๆกัน
  • โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
  • โรคเบาหวาน
  • ที่อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ แต่การศึกษายังมีข้อโต้แย้ง คือ ขาดสมดุลของสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา โรคอ้วน และขาดการออกกำลังกาย

 

อาการแรกเริ่ม

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่มักไม่ปรากฎอาการใน ระยะแรกๆ บางครั้งจึงถูกเรียกว่าเพชฌฆาตเงียบ (silent killer) และแม้ปรากฏอาการก็มักเป็นอาการที่ไม่มีความจำเพาะเจาะจง ดังนั้นบ่อยครั้งจึงวินิจฉัยไม่ได้จนกว่าโรคจะลุกลามไปมาก อาการที่พบบ่อยได้แก่
  • ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาจร้าวทะลุหลัง (พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่ส่วนตัวหรือส่วนหางของตับอ่อน)
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • น้ำหนักลด
  • ดีซ่าน ตัวตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่หัวของตับอ่อน (60%) และทำให้ท่อน้ำดีร่วม (common bile duct) ช่วงที่ผ่านตับอ่อนเกิดตันขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีอุจจาระสีซีดหรืออุจจาระเป็นมัน อาจมีอาการคันจากดีซ่านได้
  • อาการแสดงทรุสโซ (Trousseau sign)
  • เบาหวานหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่อง จากตับอ่อนทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนหลายคนเกิดมีเบาหวานขึ้นหลายเดือนหรือหลายปีก่อนตรวจพบ มะเร็ง ผู้สูงอายุที่ตรวจพบว่าเพิ่งมีเบาหวานขึ้นใหม่อาจเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของ มะเร็งตับอ่อน
  • พบโรคซึมเศร้าร่วมกับมะเร็งตับอ่อนได้บ่อยครั้ง บางครั้งมีก่อนตรวจพบมะเร็งตับอ่อน แม้ยังไม่ทราบความสัมพันธ์แน่ชัด
  • อาการของมะเร็งที่แพร่กระจาย ส่วนใหญ่มะเร็งตับอ่อนจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังตับ และอาจไปที่ปอดได้ บางครั้งอาจไปที่กระดูกหรือสมองก็ได้

การป้องกัน

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งตับอ่อน ดังนั้นที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ระวังอย่าให้น้ำหนักเกิน หรืออ้วน > ถ้าอ้วนควรออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เพื่อให้เป็นคนอ้วนฟิต (แข็งแรง) ให้ได้
  • ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ  เริ่มจากการเดินสลับเดินเร็ว (100 ก้าว/นาที; หรือ 25 ก้าว/15 วินาที; หรือเดินจนพูดได้ 2-5 คำก็เหนื่อย) + ขึ้นลงบันได รวมเวลากันให้ได้ 30 นาทีวัน + 5 วัน/สัปดาห์ขึ้นไป
  • ตับ อ่อนอักเสบเรื้อรังเพิ่มเสี่ยง  ป้องกันโดยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) และลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (ถ้าตรวจพบว่าสูง) 
  • กินผัก ผลไม้ทั้งผล (หรือน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก ไม่ใช่แยกกาก หรือกรองกาก) ให้มากพอเป็นประจำ
  • กินธัญพืชไม่ขัดสี โดยเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรือวันละ 1 มื้อ
  •  ลดอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนื้อสำเร็จรูป (ส่วนใหญ่จะปนไขมันไปด้วย เช่น ไส้กรอก ฯลฯ) และไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ฯลฯ
  • ลดเนื้อสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ 

4 อย่างที่ควรหลีกเลี่ยงในการออกกำลังกาย

exercise

1. ออกกำลังกายแต่ในยิม  เนื่องจากการออกกำลังกายต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ ในโรงยิมที่ปิด หากมีการระบายอากาศที่ดีก็ดีไป แต่หากโรงยิมหรือในที่ร่มที่ไหนจัดการเรื่องระบายอากาศไม่ดี ก็เสี่ยงต่อเชื่อโรคจากเหงื่อไคลของใครต่อใคร ฟุ้งกระจายในอากาศ ทางที่ดีควรเปลี่ยนไปออกกำลังกายกลางแจ้งบ้าง รับแดด รับลมที่บริสุทธิ์ สวนสาธารณะใกล้ๆบ้าน ก็เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง

2. เอาแต่ออกกำลังกายหน้ากระจก คนที่ชอบออกกำลังกายหน้ากระจก จะมีข้อเสียคือจะมัวแต่พะวังถึงท่าทางตัวเองตอนออกกำลังกาย จะทำให้ออกกำลังกายได้อย่างไม่เต็มที่

3. หักโหมออกกำลังอย่างหนัก แม้ว่าจะต้องการเห็นผลของการ ออกกำลังกายอย่างรวดเร็ว แต่การที่หักโหมออกกำลังกายอย่างหนักนั้น นอกจากอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายแล้ว ยังทำให้ร่างกายอ่อนแรง และจะทำให้ขี้เกียจ และเลิกล้มในการออกกำลังกายในวันต่อไป

4. มัวพะวงแต่กับตาชั่ง โอเคว่าตาชั่งเป็นตัววัดผลตัว หนึ่งของการออกกำลังกายของเราได้ แต่หากมัวแต่พะวงกับมันชั่งเช้า ชั่งเย็น ก็อาจจะทำให้เราเกิดการท้อแท้ ท้อใจได้ เอาเป็นว่านานๆดูครั้งก็พอ ไม่ต้องไปพะวงกับมันมาก
              การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ควรที่จะทำอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่จะต้องการดุแลสุขภาพ และ ตั้งใจชะลอความแก่ แล้วเป็นหนุ่มสาวด้วยกันนานๆนะครับ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม ลดความเครียด

Happiness

1. การนั่งสมาธิ  วิธีนี้ก็ทำง่ายๆคือทำจิตใจให้สงบ โดยพยายามไม่คิดถึงเรื่องต่างๆ โดยอาจกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างช้า โดยกำหนดสมาธิที่ลมหายใจ  วิธีนี้นอกจากจะไม่ทำให้ฟุ้งซ่าน หรือความคิดล่องลอยไปในเรื่องต่างๆแล้ว ยังเป็นการทำให้ร่างกายได้รับการผ่อนคลายเนื่องจากเมื่อเรากำหนดสมาธิที่ลม หายใจแล้วจะทำให้สามารถหายใจได้ทั่วท้อง ร่างกายจะได้รับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ เมื่อสมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอทำให้ลดอาการปวดหัว และการตึงเครียดของร่างกาย
2.ออกกำลังกาย  การออกกำลังกายมีประโยชน์มากมาย ช่วยคลายความเครียดเนื่องจากเมื่อเราออกกำลังกายสมองจะมีการหลั่งสารเอนโดร ฟีน หรือสารแห่งความสุขนั่นเอง โดยการออกกำลังกายก็สามารถทำได้ง่ายๆ ตามบทความเรื่องการออกกำลังกายที่เคยกล่าวมา
3.อโรมาเธอราพี  อโรมาเธอราพีคือการบำบัดโดยใช้อโรมาหรือน้ำมันหอมระเหยต่างๆ สามารถใช้กลิ่นใดก็ได้ที่คุณชอบเช่น เปเปอร์มิ้น ยูคาลิปตัส ตะไคร้หอม เลม่อน โดยอาจใช้วิธีนำมาทาบริเวณขมับหรือหน้าผาก ไม่ก็ใช้วิธีจุดน้ำมันหอมระเหยแล้วสูดดมก็ได้ โดยอาจใช้วิธีกำหนดลมหายใจโดยการทำสมาธิไปด้วย
4.การนวดกดจุดต่างๆ  วดจุดต่างๆ เมื่อมีอาการเครียด จะเกิดความตึงที่บริเวณคอไหล่ และกล้ามเนื้อหลังส่วนบน วิธีแก้ด้วยการหาจุดที่คุณปวดที่สุด ตามแผ่นหลังและข้างลำคอ ไล่นิ้วไปตามส่วนบน ของไหล่ตรงที่เชื่อมต่อลำคอ และบริเวณแผ่นหลังส่วนบ ที่ต่ำกว่าไหล่ลงไป ใช้ปลาย นิ้วสองนิ้วกดแน่นๆ 8-10 วินาที แล้วค่อยๆคลายออก นวดบริเวณนั้นเป็นรูปวงกลม ถ้าจะทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น นวดด้วยปาล์มสมุนไพร หรือน้ำมันอโรมาเธอราพีก็ยิ่งดี วิธีนี้ถ้าทำทุกวันนอกจากจะช่วยให้ผ่อนคลายแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ปวดศีรษะได้ด้วย
5.การท่องเที่ยว  ไปเที่ยวในสถานที่ธรรมชาติ รับอากาศบริสุทธิ์ เช่น น้ำตก ภูเขา ทะเล การสัมผัสกับธรรมชาติทำให้ร่างกายสดชื่นกระปี้กระเปร่า
6.ทำงานอดิเรกที่สนใจ จะทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน สนุก มีความสุข ลืมความเครียดที่มีอยู่ไปขณะหนึ่ง เต้นรำ ฟังเพลง 
7.พักผ่อนให้เพียงพอ คนที่เครียดมักจะมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับแล้วตื่นกลางดึก ฝันร้าย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การที่จะทำให้นอนหลับในตอนกลางคืนได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และอย่ากังวลว่าจะนอนไม่หลับ เข้านอนเป็นเวลา และหากยังไม่ง่วงก็ให้หากิจกรรมบางอย่างทำไปก่อน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ
การมองโลกในแง่ดีก็ทำให้เราไม่เครียดเช่นกัน  คิดบวกเข้าไว้ หัวเราะมากๆ จะช่วยป้องกันไม่เราเครียดง่าย ทำให้สุขภาพจิตดีซึ่งส่งผลให้สุขภาพร่างกายดีไปด้วย ชะลอความแก่ ทำให้เป็นหนุ่มสาวได้นานๆ

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดื่นนม แล้วดี

  
   ทำไมคนถึงไม่ชอบดื่มนม 

เพราะ ดื่มนมแล้วท้องเสีย โดยเฉพาะในคนไทยและคนในทวีปเอเชียและแอฟริกาทำให้บางคนเลิกดื่มนมไปเลย หลาย ๆ คนที่เกิดอาการนี้มักจะคิดว่า ตนเองแพ้นมวัว ดื่มนมทีไร ท้องเสียทุกครั้ง ความจริงก็คือ คนไทย คนแถบเอเชียและคนแถบแอฟริกานั้น จะมีน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแลคโตสตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4-5 ปี หลังจากอายุนี้ น้ำย่อยนี้จะลดน้อยลงจนหมดไป จึงย่อยน้ำตาลแลคโตส ไม่ได้ ต้องเข้าใจให้ดีว่า น้ำตาลแลคโตสนี้พบในน้ำนม ที่ได้มาจากสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นนมวัวหรือนมแพะ จึงทำให้ดื่มนมที่ได้จากสัตว์ทีไรทำให้ท้องเสียทุกครั้งไป 
  แต่ในปัจจุบันมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ดื่มนมวัวแล้วไม่เกิดอาการใด ๆ เลย ในทางการแพทย์เชื่อว่าเมื่อมีการดื่มนมวัวอย่างต่อเนื่อง แบคทีเรียในลำไส้จะมีการสร้างน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสนี้ขึ้นมา ซึ่งจะย่อยน้ำตาลแลคโตส ได้ จึงทำให้คนที่ดื่มนมอย่างต่อเนื่องจะไม่เกิดปัญหาการย่อยนมที่ดื่ม
   นอก จากอาการท้องเสียแล้ว อาการอื่นที่คนทั่วไปอาจนึกไม่ถึงว่าเกิดจากการย่อยนมไม่ได้ดีก็คือ อาการท้องอืด จุกเสียด และแน่นหน้าอก รวมทั้งการผายลมบ่อย ๆ
     ความ เป็นจริง เราสามารถจะชนะอาการเหล่านี้ได้ทุกคน ขออย่าได้ท้อแท้ โดยในขั้นแรกให้ดื่มนมหลังรับประทานอาหารเช้า โดยดื่มประมาณ 30 มล. วันเว้นวัน ถ้ามีอาการดังที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในครั้งต่อไปก็ให้ลดจำนวนนมลงมาครึ่งหนึ่ง จนมั่นใจว่า ไม่มีอาการ เช่น ดื่มนมหลังอาหารเช้าเพียง 15 มล. แล้วไม่เกิดอาการใด ๆ ก็ให้คงการดื่มนั้น ไปสัก 7 วัน ในสัปดาห์ต่อมาให้ดื่มนมเพิ่มเป็น 30 มล. โดยให้ดื่มทุกวันหลังอาหารเช้าเช่นเดิม และในสัปดาห์ต่อมาจึงเพิ่มเป็น 60 มล. ทุก ๆ วัน แล้วเพิ่มครั้งละ 30 มล. ในทุกสัปดาห์ ถ้าไม่มีอาการใด ๆ ก็ให้เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จน ถึง 240 มล. หรือประมาณ 1 แก้ว หรือ 1 กล่องนม ก็จะเป็นจำนวนนมที่ต้องการได้ ในกรณีที่เพิ่มไปได้เพียง 150 มล. แล้วเกิดอาการจุกเสียด ก็ให้ลดลงมาในระดับก่อนหน้าที่ไม่เกิดอาการ แล้วคงระดับนั้นไปอีก 2-3 สัปดาห์จึงค่อยเพิ่มจำนวนอีกครั้งหนึ่ง

          เมื่อ สามารถดื่มนมได้ครั้งละ 240 มล. หลังอาหารโดยไม่เกิดอาการใด ๆ ก็มีโอกาสสูงที่จะสามารถดื่มนมในขณะท้องว่างหรือก่อนอาหารได้ โดยในขั้นแรกอาจจะลองดื่มเพียง 60 มล. ก่อน แล้วค่อยเพิ่มเป็นครั้งละ 120, 180 และ 240 มล. ตามลำดับถ้าสามารถดื่มนมครั้งละ 240 มล. ในขณะท้องว่างโดยไม่เกิดอาการใด ๆ ภายหลังดื่ม 8 ชั่วโมง ก็แสดงว่าไม่มีปัญหาการย่อยและดูดซึมนมแล้ว ต่อไปก็ควรเพิ่มการดื่มนมเป็นวันละ 2 แก้ว หรือ 2 กล่อง

          เนื่อง จากนมวัวที่เรานำมาดื่มนั้นมีการปรับแต่ง ทำให้มีหลายคุณภาพ โดยเฉพาะทางด้านไขมัน ที่เราเรียกว่า นมสด หรือรสจืดจะมีไขมันอยู่ 4% นมพร่องมันเนยจะมีไขมันอยู่ 2% และนมขาดมันเนยจะไม่มีไขมันเลย แต่นมทั้ง 3 ชนิดมีน้ำตาลแลคโตสเท่ากันคือ 4-5% จึงแตกต่างกันเฉพาะจำนวนไขมัน จึงให้พลังงานที่แตกต่างกัน แต่ให้จำนวนแคลเซียม แร่ธาตุ น้ำตาลนมและโปรตีนเท่ากัน โดยนมวัวสด นมพร่องมันเนย และนมขาดมันเนย จะให้พลังงาน 170, 130 และ 85 กิโลแคลอรีต่อ 240 มล. ตามลำดับ สำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมแล้ว แนะนำให้ดื่มนมขาดมันเนย เพื่อจะลดจำนวนพลังงานที่ได้จากนม

  
  นม เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน และ แคลเซี่ยม เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีเรา ควรดื่มนมอย่างน้อยวันละหนึ่งแก้ว มีการเสนอผลการวิจัยว่า การดื่มนมอุ่นๆ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือเท่ากับอุณหภูมิร่างกายของเราเอง จะมีผลดีมากที่สุด เนื่องจาก โปรตีนและแคลเซี่ยมจากนม จะสามารถแตกตัวได้ดีกว่า การดื่มนมเย็น นอกจากนี้ การดื่มนมอุ่นยังส่งผลช่วยในการขยายหลอดเลือดฝอย ส่งผลให้สารอาหารต่างๆที่ลำเลียงผ่านหลอดเลือดเดินทางไปได้ดีขึ้นอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เส้นลมปราณหลัก 12 เส้น






หนังสือคัมภีร์แพทย์แผนจีนเล่มแรกชื่อ “หวงตี้เน่ยจิง” เขียนขึ้นสมัยชุนชิว (770 -476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ประมาณเกือบ 2,500 ปีก่อน คัมภีร์เล่มนี้เกิดจากการรวบรวมประสบการณ์ทางการแพทย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยชุนชิว ซึ่งนับว่าเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมเอาประสบการณ์ในการปฏิบัติทางการแพทย์อันยาว นานของชนชาติจีน


เนื้อหาของคัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ตำรา “ซู่เวิ่น” และตำรา “หลิวซู”
ตำรา “หลิวซู” มีเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเส้นลมปราณตั้งแต่ทฤษฎี เส้นทางเดิน จุดฝังเข็ม การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรค

“เส้น” ในความหมายของแพทย์แผนจีน จึงมีความหมายเกี่ยวกับเส้นลมปราณ ซึ่งมีแนวทางการเดินที่แน่นอน

ดังนั้น “เส้น” ในความหมายดังกล่าว ก็คือ ความสัมพันธ์ของโรคอวัยวะภายใน สามารถสะท้อนความผิดปกติออกมาที่บริเวณแขน ขา ลำตัว ศีรษะ ความผิดปกติที่ส่วนนอก แขน ขา ลำตัว ศีรษะ ก็สามารถมีผลกระทบต่อโรคภายในหรืออวัยวะภายในได้

เส้นลมปราณในความหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไร ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์ ในแพทย์แผนจีนบอกเพียงว่า มีหน้าที่ลำเลียงขนส่งเลือดและพลังลมปราณไหลเวียนไปยังอวัยวะภายใน และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

เส้นทางเดินของเส้นลมปราณหลักมี 12 เส้น ดังนี้
- เริ่มจากอวัยวะในร่างกายบริเวณทรวงอก ออกสู่ภายนอกมาที่แขนด้านในมี 3 เส้นหลัก ไปสิ้นสุดบริเวณปลายนิ้วมือ
- จากปลายนิ้วมือเดินทางผ่านมือ แขน หัวไหล่ ด้านนอกไปสิ้นสุดบริเวณศีรษะและใบหน้ามี 3 เส้นหลัก (มีเส้นแยกแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน)
- จากศีรษะเดินทางมาด้านข้าง ศีรษะ ลำตัว มายังขาด้านข้างหรือด้านหลังไปบริเวณเท้า 3 เส้นหลัก (มีเส้นแยกแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน)
- จากเท้าเดินทางมาตามขาด้านในผ่านหน้าท้อง (มีแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน) เข้าบริเวณทรวงอก นอกจากนั้น ยังมีเส้นที่วิ่งผ่านกลางลำตัวด้านหน้าและด้านหลังอีกรวม 2 เส้น

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การส่งถ่าย ออกซิเจน ไปสู่ เซลล์ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์

โดยปอดจะส่งออกซิเจนให้เม็ดเลือดแดงซึ่งมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน
แล้วออกซิเจนจะเคลื่อนไปกับเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงจะส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย


วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Stem Cell เซลล์ต้นกำเนิด


เซลล์ไม่จำเพาะ
เป็นเซลล์อ่อนที่พร้อมจะเจริญเติบโต แบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ และเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายของมนุษย์จะทำหน้าที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดย ไม่ย้อนกลับมา ซึ่งเซลล์ที่พัฒนาไปจนสุดทางจนเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง 
พบได้จากตัวอ่อนระยะ blastocyst และในเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย เช่น เลือด ไขกระดูก ฟันน้ำนม ผิวหนัง ปัจจุบันได้มีนักวิจัยมากมายที่สนใจในการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาโรค

สเต็มเซลล์จัดตามแหล่งที่ได้มาเป็นสองชนิดคือ
  • สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell) คือสเต็มเซลล์ที่เก็บส่วนของ inner cell mass จากตัวอ่อนของมนุษย์หรือสัตว์ที่ยังอยู่ในครรภ์ในระยะ blastocyst สเต็มเซลล์ใน ระยะนี้จะมีอายุเพียง 3-5 วัน หลังการปฎิสนธิ แม้จะมีจำนวนเซลล์ไม่มาก เมื่อเทียบกับ สเต็มเซลล์ที่ได้จากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย แต่เนื่องจากมันมีความสามารถในการพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นๆ ของร่างกายได้ จึงนับว่าเป็น สเต็มเซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาและวิจัยอย่างสูงสุด
  • สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย (Adult Stem Cell) คือสเต็มเซลล์ที่เก็บจากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย เช่นจาก ไขกระดูก เลือด ผิวหนัง ฟันน้ำนม เป็นต้น

และมีการจำแนกตามความสามารถในการนำไปพัฒนาได้อีก 3 ชนิด คือ
  1. Totipotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปได้แบบไม่จำกัด เช่น เซลล์ตัวอ่อนมนุษย์
  2. Pluripotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปได้หลายแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื่อเยื่อต่างๆของสิ่งมีชีวิต
  3. Unipotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น

                                 จาก video จะเห็นการทำงานของ stem cell

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การกิน collagen จะดีหรือได้ผลจริงหรือ

คอลลาเจนเป็นโปรตีนในผิวหนังที่ทำให้ผิวเต่งตึง เมื่ออายุมากคอลลาเจนจะเสื่อม ดังนั้นควรบริโภคคอลลาเจนเข้าไปทดแทน ข้อมูลนี้เป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น 

ข้อเท็จจริง คือ คอลลาเจนเป็นโปรตีน เมื่อกินเข้าสู่ร่างกายจำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อย โปรตีนทุกชนิดจะถูกเอนไซม์หลายชนิดในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กย่อยสลาย จนกลายเป็นกรดอะมิโน ไม่เหลือสภาพความเป็นคอลลาเจน ไม่แตกต่างจากโปรตีนชนิดอื่นๆ คอลลาเจนไม่ได้ถูกดูดซึมไปทั้งเส้นแล้วตรงไปประกอบเข้าเป็นผิวหนังอย่างที่หลายคนจินตนาการจากคำโฆษณา   
คอลลาเจนชนิดที่ทาผิวก็ไม่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้เช่นกัน ด้วยตรรกะง่ายๆ ว่า ลำไส้ที่เป็นอวัยวะสำหรับดูดซึมสารต่างๆ จากภายนอกโดยเฉพาะยังไม่สามารถดูดซึมโปรตีนเล็กๆ สักโมเลกุล  คอลลาเจน เป็นโปรตีนที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ที่ร่างกายสร้างขึ้น ผิวหนังย่อมไม่สามารถดูดซึมได้อย่างแน่นอน

คอลลาเจนของสัตว์แต่ละชนิดล้วนแตกต่างกัน สังเกตได้ง่ายๆ จากเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา จะมีลักษณะและความยืดหยุ่นแตกต่างกัน ดังนั้นความแตกต่างของคอลลาเจนในสัตว์แต่ละชนิดจึงทำให้ ไม่สามารถนำคอลลาเจนจากสัตว์อื่นๆ มาทดแทน หรือรวมเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างผิวหนังของคน

ร่างกายคนนั้นเมื่อได้รับสารประกอบต่างๆ ที่ครบ ร่างกายก็จะประกอบ collagen ขึ้นมาเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีส่วนผสมของ collagen ซึ่งวัตถุดิบจำเป็นในการสังเคราะห์คอลลาเจนเราได้รับอย่างเพียงพอ จากอาหารอยู่แล้ว การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นให้กลไกทำงาน และการพักผ่อนช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสึกหรอช้าลง

หากต้องการให้ร่างกายมีคอลลาเจนอย่างเพียงพอ มีเพียงการบำรุงรักษากลไกของร่างกายที่ทำหน้าที่สร้างคอลลาจนเท่านั้น การบำรุงรักษานั้นเพียงแค่รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอเท่านั้นเอง 

ในผู้สูงอายุร่างกายมีการสร้างคอลลาเจนที่ผิวหนังน้อยลง ไม่ได้เป็นเพราะขาดกรดอะมิโนที่เป็นวัตถุดิบในการสร้าง แต่เป็นเพราะกลไกต่างๆ ในการสร้างคอลลาเจนเสื่อมไปตามอายุ การกินกรดอะมิโนเพิ่มขึ้นจึง แทบจะไม่ "ช่วยเสริมสร้าง" คอลลาเจนในผิวหนังเลย 



วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคพิษตะกั่ว (Lead Poisoning)

โรคพิษตะกั่ว (Lead Poisoning)
          ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะมีอุตสาหกรรมใหม่ๆ และมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย ผลจากการพัฒนานี้ทำให้มีการปนเปื้อนและสะสมของสารพิษ ทั้งในสิ่งแวดล้อมและในสิ่งมีชีวิต
          
ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่ผลิตและใช้มา ตั้งแต่๖,๐๐๐ ปีก่อน ในแถบ Asia Minor และพิษจากสารตะกั่วเป็นที่รู้จักกันมานานในหมู่ชาวกรีกและโรมัน ฮิปโปคราเตส (Hippocrates, ๓๗๐ ปีก่อนคริสตกาล) ได้บรรยายถึงอาการปวดท้องอย่างรุนแรงในคนงานสกัดโลหะตะกั่ว ซึ่งเป็นอาการปวดเกร็งของพิษตะกั่ว สำหรับประเทศไทยมีรายงานอุบัติการณ์ของโรคพิษตะกั่วครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๕ และมีรายงานผู้ป่วยโรคพิษตะกั่วมาตลอด โดยมีแนวโน้มจำนวนเพิ่มขึ้น
คุณสมบัติโดยทั่วไปของสารตะกั่ว
          ตะกั่วเป็นโลหะหนัก มีเลขอะตอมิก ๘๒โดยเป็นธาตุที่ ๕ ของหมู่ ๔A ในตารางธาตุ น้ำหนักอะตอมเท่ากับ ๒๐๗.๑๙ จุดหลอมเหลว๓๒๗.๕ องศาเซลเซียส จุดเดือด ๑,๗๔๐ องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ ๑๑.๓๔ วาเลนซี (Valency) ๐, +๒ และ +๔ ตะกั่วในธรรมชาติอยู่ในรูปของแร่กาลีนา คีรูไซต์ และแอนกลีไซต์
         
ตะกั่วบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาปนขาว สามารถแปรรูปได้โดยการทุบ รีด หล่อหลอมได้ง่าย สามารถผสมเข้ากับโลหะต่างๆ ได้ดี รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเกิดเป็นเกลือของตะกั่วต่างๆ
การใช้ตะกั่วในวงการอุตสาหกรรม
          แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. สารประกอบอนินทรีย์ตะกั่ว เช่น
                    ๑.๑ โลหะตะกั่วใช้ผสมในแท่งโลหะผสมหรือผงเชื่อมบัดกรีโลหะนำมาทำเป็นแผ่น หรือท่อโลหะใช้ในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อป้องกันการกัดกร่อน  แผ่นกรองในอุตสาหกรรมรถยนต์ ทำลูกปืนฉากกั้นสารกัมมันตรังสี
                    ๑.๒ ออกไซด์ของตะกั่ว ได้แก่
                    - ตะกั่วมอนอกไซด์ (Lead monoxide)ใช้ในอุตสาหกรรมสีโดยใช้เป็นสารสีเหลืองผสมสีทาบ้าน
                    - ตะกั่วไดออกไซด์ (Lead dioxide) ใช้ทำเป็นขั้วอิเล็กโทรดของแบตเตอรี่รถยนต์ และเครื่องจักร
                    - ตะกั่วออกไซด์ หรือตะกั่วแดง (Leadred oxide) ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ สีทาโลหะเพื่อกันสนิม เครื่องแก้ว ยาง และเครื่องเคลือบ
                    ๑.๓ สารประกอบของเกลือตะกั่ว คุณสมบัติ
มีสีต่างๆ กัน จึงนิยมใช้เป็นแม่สี หรือสีผสมในอุตสาหกรรมสี เช่น
                    - ตะกั่วเหลือง (Lead cromate) ตะกั่วขาว(Lead carbonate)
                    - ตะกั่วซัลเฟต (Lead sulfate) ใช้ในอุตสาหกรรมสีและหมึกพิมพ์
                    - ตะกั่วแอซิเตต (Lead acetate) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ครีมใส่ผม
                    - ตะกั่วซิลิเกต (Lead silicate) ใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้อง  และเครื่องเคลือบเซรามิกเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีผิวเรียบ เงางาม
                    - ตะกั่วไนเทรต (Lead nitrate) ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก  และยาง
                    - ตะกั่วอาร์ซิเนต (Lead arsenate) ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
          ๒. สารประกอบอินทรีย์ของตะกั่ว ได้แก่
                    - เททระเอทิลเบด (Tetraethyl lead) และเททระเมทิลเลด (Tetramethyl lead) โดยใช้เป็น"สารกันน็อก" หรือสารป้องกันการกระตุกของเครื่องยนต์เวลาทำงาน โดยใช้ผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อให้เชื้อเพลิงมีค่าออกเทนสูงขึ้น สารนี้มีสีแดงดังนั้นน้ำมันชนิดพิเศษทั้งหลายจึงมีสีแดง สารประกอบอินทรีย์ของตะกั่วค่อนข้างจะเป็นพิษมากกว่าตะกั่วอนินทรีย์ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายในอากาศได้ดี สำหรับตะกั่วที่ออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์จะอยู่ในรูปของตะกั่วออกไซด์ชนิด ต่างๆ ซึ่งจะเป็นตะกั่วอนินทรีย์ ปัจจุบันไม่ใช้ผสมในน้ำมันเบนซินแล้ว

การดูดซึมของตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย
         ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ๓ ทาง คือ
         ๑. การดูดซึมจากระบบทางเดินอาหาร แหล่งสำคัญ คือ การปนเปื้อนของตะกั่วในอาหาร น้ำ เครื่องดื่ม ยาสมุนไพรแผนโบราณและภาชนะเครื่องใช้ที่มีตะกั่วปนเปื้อน พบว่าร้อยละ ๗๐-๘๕ ของตะกั่วที่เข้าสู่ร่างกายคนปกติได้จากอาหาร  โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่สามารถดูดซึมตะกั่วจากอาหารได้ประมาณร้อยละ ๑๐ ของปริมาณตะกั่วในอาหารและเด็กสามารถดูดซึมได้มากถึงร้อยละ ๔๐-๕๐ ของปริมาณตะกั่วในอาหารตะกั่วที่เข้าไปกับอาหารจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จากลำไส้เล็กจะเข้าสู่ตับโดยผ่านทางเส้นเลือดดำใหญ่เข้าสู่กระแสเลือดการดูด ซึมตะกั่วในทางเดินอาหารนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ และภาวะโภชนาการโดยในภาวะที่ท้องว่างหรือได้รับอาหารที่ขาดธาตุแคลเซียม เหล็ก และทองแดง  หรือมีสารฟอสเฟตต่ำจะทำให้ตะกั่วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
         ๒. การดูดซึมจากระบบทางเดินหายใจ การหายใจเอาควัน หรือฟูมของตะกั่วที่หลอมเหลวเข้าไป เช่น จากการหลอมตะกั่ว หรือเชื่อมโลหะ ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ร่างกายอันดับแรกของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสตะกั่ว เช่น คนงานในโรงงานหลอมตะกั่ว แบตเตอรี่  โรงงานผลิตสีฯลฯ ตะกั่วสามารถดูดซึมผ่านถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้  โดยการดูดซึมจะเร็วมาก แต่ถ้าหายใจเอาอนุภาคของตะกั่วที่มีขนาดเล็กกว่า ๐.๗๕ไมครอน เข้าไป เช่น จากสีเก่าที่หลุดออกมา การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะช้ากว่า โดยทั่วไปร้อยละ๓๕-๕๐ ของตะกั่ว จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยวิธี ฟาโกไซโตซิส (Phagocytosis : คือ กระบวนการทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยเม็ดเลือดขาว) อาการที่เกิดขึ้นมักจะรวดเร็วและรุนแรง การหายใจเอาอากาศที่มีไอหรืออนุภาคตะกั่วปริมาณ ๑ ไมครอนต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ  จะเพิ่มปริมาณตะกั่วในเลือดได้ ๑-๒ มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด ๑๐๐มิลลิเมตร ได้มีการกำหนดความเข้มของตะกั่วที่ให้มีได้ในอากาศโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อร่างกาย คือ ในบริเวณทำงานไม่ควรเกิน ๐.๒มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ สำหรับผู้ที่ทำงาน ๘ ชั่วโมงต่อวัน หรือ ๔๐-๔๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์  นอกจากนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณสูงๆ ในอากาศ จะช่วยให้การดูดซึมของตะกั่วในปอดเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้น
         ๓. การดูดซึมทางผิวหนัง เกิดเฉพาะตะกั่วอินทรีย์เท่านั้น ผู้ที่มีโอกาสได้รับตะกั่วทางผิวหนัง ได้แก่ คนงานที่ทำงานในปั๊มน้ำมัน ช่างซ่อมเครื่องยนต์ เนื่องจากในอุตสาหกรรมน้ำมันมีการเติม เททระเอทิลเบด(Tetraethyl lead) หรือเททระเมททิลเลด(Tetramethyl lead) ผสมในน้ำมันเบนซิน ดังนั้นเมื่อคนงานถูกน้ำมันหกรดผิวหนัง หรือใช้น้ำมันเบนซินล้างมือ เททระเอทิลสามารถละลายชั้นไขมันของผิวหนังได้ ตะกั่วจึงสามารถซึมผ่านผิวหนังและเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของร่างกายไปสู่ ตับ และจะเปลี่ยนเป็นไทรเอทิลเลด (Triethyllead) ได้ช้ามาก โดยมีค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ ๒๐๐-๓๕๐วัน ตะกั่วจึงสามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน
การกระจายของตะกั่วในร่างกาย

          หลังจากตะกั่วดูดซึมจากลำไส้แล้ว ตะกั่วจะเข้าสู่ตับโดยผ่านทางเส้นเลือดดำ บางส่วนจะถูกขับออกทางน้ำดีและอุจจาระ ถ้าหากตะกั่วเข้าไปในปอดจะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงได้เลยกระแสเลือดจะพา ตะกั่วไปทั่วร่างกาย โดยใช้เวลาประมาณ ๑๔ วินาที ตะกั่วที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายระยะแรกจะอยู่ในสภาวะเลดไดฟอสเฟต (leaddiphosphate) ซึ่งจะกระจายไปอยู่ที่เส้นผมและตามเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) เช่น สมอง ปอด ม้าม ตับ และไต จากนั้นบางส่วนจะถูกส่งไปสะสมที่กระดูกยาวในสภาวะเลดไทรฟอสเฟตโดยร้อยละ ๓๐ ของตะกั่วในร่างกายจะเก็บไว้ที่เนื้อเยื่ออ่อน และร้อยละ ๗๐ จะเก็บไว้ที่กระดูกยาวระดับตะกั่วในกระดูกค่อนข้างคงที่ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตะกั่วถูกปล่อยออกจากกระดูก คือสภาวะที่ร่างกายมีภาวะเครียดเกิดขึ้นเช่น มีไข้ภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของร่างกายผิดปกติการลดระดับแคลเซียมในร่างกาย หรือลดระดับแคลเซียมในเลือด ตะกั่วจะกลับออกจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด และไปอยู่ที่เนื้อเยื่ออ่อนดังกล่าวมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยซึ่งเดิมไม่มีอาการจะเกิดอาการโรคพิษตะกั่วเฉียบพลันได้
การสะสมของตะกั่วในร่างกาย
          ๑. ในกระแสเลือด โดยกว่าร้อยละ ๙๐ จะรวมตัวกับเม็ดเลือดแดง และส่วนที่เหลือจะอยู่ในน้ำเลือด ค่าครึ่งชีวิตของตะกั่วในเลือดประมาณ๒-๔ สัปดาห์
          ๒. ในเนื้อเยื่ออ่อน ที่สำคัญ คือ ตับ และไตมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ ๔ สัปดาห์
          ๓. ในกระดูก โดยร้อยละ ๙๐ ของตะกั่วที่สะสมอยู่ในร่างกายจะอยู่ในกระดูก ซึ่งอยู่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ และมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ ๑๖-๒๐ปียกเว้นในเด็ก ซึ่งประมาณร้อยละ ๗๐ เท่านั้นที่สะสมอยู่ในกระดูก

การขับถ่ายตะกั่วออกจากร่างกาย
          ร่างกายคนเราสามารถขับตะกั่วออกได้เต็มที่ประมาณ๒ มิลลิกรัมต่อวัน โดยขับออกทางปัสสาวะร้อยละ  ๗๕-๘๐ โดยผ่านกระบวนการกรองของไตนอกจากนี้ถูกขับออกทางเหงื่อ น้ำดี น้ำนม และขับออกทางอุจจาระ ประมาณร้อยละ ๑๕
กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว
          กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่

          ๑. คนงานที่ประกอบอาชีพสัมผัสสารตะกั่ว ได้แก่
          ๑. คนงานทำเหมืองตะกั่ว
          ๒. คนงานโรงงานถลุงแร่ตะกั่ว
          ๓. คนงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์
          ๔. คนงานโรงงานผลิตแบตเตอรี่
          ๕. คนงานโรงงานผลิตสี
          ๖. คนงานโรงงานชุบโลหะ
          ๗. คนงานโรงงานทำเครื่องปั้นดินเผา/เซรามิก
          ๘. คนงานโรงงานทำเครื่องประดับโลหะ
          ๙. คนงานโรงงานทำลูกปืน
          ๑๐. คนงานบัดกรีตะกั่ว
          ๑๑. คนงานเรียงพิมพ์ และหล่อตัวพิมพ์
          ๑๒. คนงานโรงงานผลิตและบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช
          ๑๓. คนงานทา หรือพ่นสีกันสนิม และสีทาบ้าน
          ๑๔. คนงานโรงงานผลิตแก้ว
          ๑๕. คนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำมันเบนซินที่ผสมสารตะกั่ว (ตะกั่วอินทรีย์) เช่น เด็กสถานีบริการน้ำมัน ช่างซ่อมเครื่องยนต์
          ๑๖. อาชีพอื่นๆ เช่น ตำรวจจราจร ฯลฯ

          ๒. บุคคลทั่วไป ได้แก่บุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณโรงงานหลอมตะกั่ว หรือใกล้โรงงานที่มีการใช้สารตะกั่ว บุคคลที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น หรืออยู่ใกล้ถนน  และผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องติดอยู่ในการจราจรที่แน่นขนัด

          ๓. เด็ก เนื่องจากพฤติกรรมของ เด็กที่ชอบหยิบสิ่งของใส่ปาก ซึ่งบางครั้งของที่หยิบใส่ปากนั้นมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ เช่น ของเล่นที่มีคุณภาพต่ำจะมีสารตะกั่วปนเปื้อน

          ๔. บุคคลในครอบครัวของคนงานที่ประกอบอาชีพสัมผัสตะกั่ว เนื่องจากฝุ่นตะกั่วสามารถติดอยู่ตามเสื้อผ้าผิวหนัง และผมของคนงาน  ทำให้ตะกั่วสามารถติดจากที่ทำงานไปสู่บ้านได้

          ๕. ทารกและเด็กที่ดื่มนมแม่ เนื่อง จากในหญิงมีครรภ์ ตะกั่วสามารถซึมผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้  โดยระดับตะกั่วในสายสะดือมีค่าเท่ากับระดับตะกั่วในเลือดของมารดาและหญิงให้ นมบุตรที่มีระดับตะกั่วในร่างกายสูงตะกั่วสามารถผ่านทางน้ำนมสู่ทารกที่ดื่ม นมแม่ได้

พิษของตะกั่วต่อร่างกาย
พิษตะกั่วในผู้ใหญ่          เมื่อตะกั่วเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีใดก็ตามหากมีการสะสมจนถึงระดับอันตรายก็จะแสดงอาการให้เห็น ดังนี้
          ๑. อาการทางระบบทางเดินอาการ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ โดยเริ่มจากมีอาการเบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก บางรายมีอาการท้องเสียอาการที่สำคัญคือ ปวดท้องอย่างรุนแรงมาก ที่เรียกว่า "โคลิก" เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลผู้ป่วยอาจปวดท้องจนดิ้นตัวงอ อาการปวดท้องนี้อาจทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคผิดว่าเป็นอาการปวดท้องเนื่องจาก สาเหตุทางศัลยกรรมได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบนอกจากนี้การดื่มสุรา หรือภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกั่วจากที่เก็บสะสมไว้ออกมาใน เลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องมากขึ้น นอกจากนี้อาจตรวจพบแนวเส้นตะกั่วบริเวณเหงือก (lead line) มีลักษณะเป็นเส้นสีน้ำเงิน-ดำ จับอยู่ที่ขอบเหงือกต่อกับฟันห่างจากฟันประมาณ ๑ มิลลิเมตร พบบ่อยบริเวณฟันหน้ากราม และฟันกราม
          ๒. อาการทางระบบประสาทส่วนปลาย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขาบางครั้งมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ
ถ้า ร่างกายได้รับตะกั่วปริมาณมากๆ เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อกลุ่มที่ทำหน้าที่เหยียด เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดข้อมืออ่อนแรง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ข้อมือตก หรือข้อเท้าตก การเป็นอัมพาตมักจะไม่ทำให้ประสาทความรู้สึกเสียส่วนมากมักจะเป็นเฉพาะกล้าม เนื้อข้างใดข้างหนึ่งของแขนหรือขาเท่านั้น และมักจะมีอาการข้างที่ถนัดก่อน
          ๓. อาการทางสมอง เป็นอาการแสดงที่พบว่ารุนแรงที่สุด มักพบในเด็กที่ได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณค่อนข้างสูง เช่น กินตะกั่วอนินทรีย์ หรือสูดเอาไอและละอองฝุ่นตะกั่วเข้าไปมาก สำหรับผู้ใหญ่พบได้น้อย โดยมากเกิดจากตะกั่วอินทรีย์ เช่น คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน มักมีอาการเริ่มต้นจากตื่นเต้น นอนไม่หลับ ฝันร้าย อารมณ์ฉุนเฉียว ปฏิกิริยาสะท้อนไวกว่าปกติ สติคุ้มดีคุ้มร้าย ในที่สุดอาจชัก หมดสติ และถึงแก่กรรมได้
          ๔. อาการทางโลหิต ผู้ป่วยมักจะมีอาการซีดเลือดจาง อ่อนเพลีย นอกจากอาการดังกล่าวแล้วผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ มึนงง ในรายที่เป็นเรื้อรัง พบว่ามีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ได้ด้วย

พิษตะกั่วในเด็ก

          ๑. ระบบประสาท โดยตะกั่วจะทำลายทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย ยิ่งอายุน้อยระบบประสาทยิ่งถูกทำลายมาก ดังนั้นในเด็กเล็กจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งนอกจากนี้ระดับตะกั่วในเลือด ๓๕ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป อาจมีอาการผิดปกติทางจิตประสาทได้ด้วย
          ๒. ระบบทางเดินปัสสาวะ ตะกั่วทำลายไตโดยตรง ทำให้เกิดการฝ่อลีบของบริเวณที่กรองปัสสาวะ
         
๓. ระบบเลือด นอกจากจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายแล้ว ตะกั่วยังขัดขวางการสร้างฮีมทำให้มีอาการซีด โลหิตจางได้
          ๔. พิษต่อหัวใจ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
          ๕. ระบบทางเดินอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อเรียบมีการเกร็ง เกิดอาการปวดท้องมาก
          ๖. นอกจากนี้ระดับตะกั่วในเลือด ตั้งแต่ ๒๕ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทำให้การเจริญเติบโตไม่สมอายุ

อาการโรคพิษตะกั่ว
           อาการโรคพิษตะกั่ว แบ่งได้เป็นระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
           ๑. พิษตะกั่วเฉียบพลัน อาการสำคัญที่พบ คือ อาการของโรคเนื้อสมองเสื่อมเฉียบพลันมักเกิดเมื่อระดับตะกั่วในเลือดสูงเกิน ๑๒๐ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร และมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า๓ ปี อาการอาจเริ่มด้วยชักและหมดสติ หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น เบื่ออาหาร ซีด กระวนกระวาย ซึม เล่นน้อยลง  กระสับกระส่าย เสียกิริยาประสานงาน อาเจียน มีอาการทักษะเสื่อมถอย โดยเฉพาะการพูด อาการจะมากขึ้นเรื่อยๆ ใน ๓-๖ สัปดาห์จากนั้นจึงมีอาการของโรคสมองเสื่อมตามมาใน ๒-๕วัน เริ่มด้วยอาการเดินเซ อาเจียนมาก ซึม หมดสติและชักที่ควบคุมลำบาก แต่จะไม่พบอาการปลายประสาทเสื่อม
           ๒. พิษตะกั่วเรื้อรัง อาการแสดงทางคลินิกที่พบในระบบต่างๆ มีดังนี้
                      ๒.๑ ระบบประสาทส่วนกลาง และประสาทสมอง อาการสำคัญที่พบ คือ สมองเสื่อมจากพิษตะกั่ว พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ มีอาการหงุดหงิดง่าย  กระวนกระวาย ซึม เวียนศีรษะ เดินเซหกล้มง่าย นอนไม่หลับ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงความจำเสื่อม  ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการสั่นเวลาเคลื่อนไหว ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ซึ่ง
โรคพิษตะกั่วในเด็ก      เป็นผลจากตะกั่วเข้าไปทำลายเซลล์ประสาททำให้เนื้อเยื่อสมองเกิดอาการบวม มีน้ำและสารต่างๆ ในเซลล์เพิ่มขึ้น เมื่อสมองถูกกดมากๆทำให้เนื้อสมองถูกทำลาย ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางมีอัตราตายประมาณร้อยละ๒๕ สำหรับผู้ที่รอดชีวิต ภายหลังการรักษาจะพบว่ามีความผิดปกติตามมาได้ ส่วนอาการทางประสาทสมอง พบว่าประสาทตาฝ่อและมีความผิดปกติในการทำงานของกล่องเสียง
                      ๒.๒ ระบบประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อ พบมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ กล้ามเนื้อที่ใช้บ่อยมีอาการอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดข้อมือ ข้อเท้า อ่อนแรง ทำให้เกิดอาการข้อมือตก ข้อเท้าตกอาจเป็นข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ อาการของระบบประสาทส่วนปลายพบมีอาการชา  ปลายประสาทอักเสบ
                      ๒.๓ ระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน โดยเริ่มแรกมักมีอาการท้องผูก แต่บางรายอาจมีอาการท้องเดิน น้ำหนักลด รู้สึกลิ้นรับรสของโลหะ เมื่อภาวะเป็นพิษเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องบีบเกร็ง และกดเจ็บ ทำให้มีอาการปวดท้องมาก เรียกว่า "โคลิก" นอกจากนี้อาจตรวจพบเส้นสีน้ำเงิน-ดำที่เหงือก ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนซัลไฟด์ของแบคทีเรียในช่องปากกับตะกั่ว โดยอาจพบได้ถึงร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยที่ได้รับตะกั่วสะสมมาเป็นเวลานานๆ
                      ๒.๔ ระบบโลหิต มักพบมีอาการซีดโดยทั่วๆ ไปจะมีลักษณะซีดจากการขาดธาตุเหล็กเนื่องจากตะกั่วจะเข้าไปยับยั้งกระบวน การสังเคราะห์ฮีมในไขกระดูก โดยขัดขวางการใช้เหล็ก และการสร้างโกลบินในไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีผลให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะต่างจากปกติมีจุดสีน้ำเงินกระจาย อยู่ภายใน (basophilic stippling) เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก และแตกง่าย อายุสั้นกว่าปกติความเป็นพิษต่อระบบโลหิตนี้มีผลต่อเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
                      ๒.๕ ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ได้รับตะกั่วเป็นเวลานานๆ อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรังเนื่องจากตะกั่วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและ หน้าที่ของไต โดยทำให้เซลล์ที่บุส่วนต้นของท่อภายในไตเกิดสารประกอบของตะกั่วกับโปรตีน ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสร้างพลังงานของไต โดยจะตรวจพบน้ำตาล  กรดอะมิโน และฟอสเฟตในปัสสาวะสูง รวมทั้งฟอสเฟตในเลือดต่ำเนื่องจาก
การ ดูดกลับลดลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จากการที่ร่างกายดึงฟอสเฟตจากกระดูกมาใช้และในรายที่เป็นเรื้อรังไตจะมีขนาด เล็กลง เส้นเลือดแข็ง และผู้ป่วยอาจเสียชีวิต เนื่องจากภาวะไตวาย นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะกรดยูริกคั่งในร่างกาย เกิดอาการของโรคเกาต์ได้
                      ๒.๖ ระบบโครงสร้าง ตะกั่วจะไปสะสมที่กระดูก โดยเฉพาะที่ส่วนปลายของกระดูกยาวเมื่อเอกซเรย์ดูจะพบรอยหนาทึบของตะกั่ว ฟอสเฟตพบได้ในเด็ก ถ้าร่างกายขาดแคลเซียมจะทำให้ร่างกายดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ เป็นผลให้ตะกั่วกลับเข้าสู่กระแสเลือดด้วย
                      ๒.๗ ระบบสืบพันธุ์ ผู้ที่ได้รับตะกั่วติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจพบอาการเป็นหมันได้ทั้งชายและหญิง โดยเพศชายจะมีจำนวนเชื้ออสุจิน้อยอ่อนแอ และมีลักษณะผิดปกติ ส่วนใหญ่เพศหญิงจะมีความผิดปกติของประจำเดือน รังไข่ทำงานผิดปกติ และแท้งได้
                      ๒.๘ ระบบอื่นๆ ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ และต่อมหมวกไตได้นอกจากนี้ตะกั่วเป็นสารก่อมะเร็ง อาจทำให้เกิดมะเร็งที่ไต เนื้องอกที่ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งเป็นสารก่อกลายพันธุ์ โดยทำให้เกิดความผิดปกติของดีเอ็นเอได้



Credit: นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา และ guru.sanook.com