วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เส้นลมปราณหลัก 12 เส้น






หนังสือคัมภีร์แพทย์แผนจีนเล่มแรกชื่อ “หวงตี้เน่ยจิง” เขียนขึ้นสมัยชุนชิว (770 -476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ประมาณเกือบ 2,500 ปีก่อน คัมภีร์เล่มนี้เกิดจากการรวบรวมประสบการณ์ทางการแพทย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยชุนชิว ซึ่งนับว่าเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมเอาประสบการณ์ในการปฏิบัติทางการแพทย์อันยาว นานของชนชาติจีน


เนื้อหาของคัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ตำรา “ซู่เวิ่น” และตำรา “หลิวซู”
ตำรา “หลิวซู” มีเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเส้นลมปราณตั้งแต่ทฤษฎี เส้นทางเดิน จุดฝังเข็ม การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรค

“เส้น” ในความหมายของแพทย์แผนจีน จึงมีความหมายเกี่ยวกับเส้นลมปราณ ซึ่งมีแนวทางการเดินที่แน่นอน

ดังนั้น “เส้น” ในความหมายดังกล่าว ก็คือ ความสัมพันธ์ของโรคอวัยวะภายใน สามารถสะท้อนความผิดปกติออกมาที่บริเวณแขน ขา ลำตัว ศีรษะ ความผิดปกติที่ส่วนนอก แขน ขา ลำตัว ศีรษะ ก็สามารถมีผลกระทบต่อโรคภายในหรืออวัยวะภายในได้

เส้นลมปราณในความหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไร ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์ ในแพทย์แผนจีนบอกเพียงว่า มีหน้าที่ลำเลียงขนส่งเลือดและพลังลมปราณไหลเวียนไปยังอวัยวะภายใน และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

เส้นทางเดินของเส้นลมปราณหลักมี 12 เส้น ดังนี้
- เริ่มจากอวัยวะในร่างกายบริเวณทรวงอก ออกสู่ภายนอกมาที่แขนด้านในมี 3 เส้นหลัก ไปสิ้นสุดบริเวณปลายนิ้วมือ
- จากปลายนิ้วมือเดินทางผ่านมือ แขน หัวไหล่ ด้านนอกไปสิ้นสุดบริเวณศีรษะและใบหน้ามี 3 เส้นหลัก (มีเส้นแยกแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน)
- จากศีรษะเดินทางมาด้านข้าง ศีรษะ ลำตัว มายังขาด้านข้างหรือด้านหลังไปบริเวณเท้า 3 เส้นหลัก (มีเส้นแยกแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน)
- จากเท้าเดินทางมาตามขาด้านในผ่านหน้าท้อง (มีแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน) เข้าบริเวณทรวงอก นอกจากนั้น ยังมีเส้นที่วิ่งผ่านกลางลำตัวด้านหน้าและด้านหลังอีกรวม 2 เส้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น