วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เซลล์ชรา



telomerase
                       นักวิทยาศาสตร์พบว่าโมเลกุลชนิดหนึ่งซึ่งใช้เป็นดัชนีชี้บอกว่า เซลล์ใดเป็นเซลล์ชรา โมเลกุลดังกล่าวคือ เอนไซม์กาแล็กโตไซเดส (galactosidase) ในรูปซึ่ง ผิดปกติ โดยการใช้ดัชนีดังกล่าวนักวิจัยพบว่าในบุคคลอายุ 30 เศษ ๆ นั้นเกือบไม่มีเซลล์ชราเลย ผิดกับในบุคคลอายุ 70 หรือ 80 ซึ่งมีเซลล์ชราอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามผิวหนังทั้งผิว-หนังแท้และผิวหนังกำพร้า
                       เซลล์ชราเหล่านี้มีโปรตีน ยีน และกระบวนการทางชีวเคมีบางอย่างที่เปลี่ยนไป โดยที่การเปลี่ยนเหล่านั้นสามารถทำให้เซลล์ที่ว่าเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติได้ ยกตัวอย่าง เช่น เซลล์ผิวหนังที่ชราจะสร้างเอนไซม์คอลลาจิเนส ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ขณะที่เซลล์ผนังหลอดเลือด ลำไส้ และอวัยะภายในจะหลั่งสารอินเตอร์ลูคิน 1 ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อเมื่อเซลล์นั้นแก่ตัวลง
ยีนซึ่งควบคุมการสร้างเอนไซม์ชื่อทีโลเมอเรส (telomerase) อันเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันมิให้ส่วนปลายของโครโมโซมหดสั้นลงอาจเป็นกุญแจสำคัญสำหรับไขประตูแห่งความเป็นอมตะก็ได้ ถึงแม้ว่าเซลล์ทุกเซลล์ภายในร่างกายของเรามียีนนี้อยู่ แต่ก็มีเซลล์เพียงไม่กี่เซลล์เท่านั้นที่เปิดไฟเขียวให้ยีนดังกล่าวทำงานได้ ยกเว้นเซลล์เนื้องอกที่เปิดไฟเขียวให้ยีนนี้ตลอดเวลา มีหลักฐานงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เอนไซม์ทีโลเมอเรสนี้ช่วยให้เซลล์เนื้องอกอยู่ยงคงกระพัน นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดโทษกับร่างกายอาจเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่ทำให้เซลล์ปกติอ่อนเยาว์ ด้วยเหตุผลเป็นอย่างนี้
เมื่อเซลล์แบ่งตัวครั้งแล้วครั้งเล่า เหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เป็นผลจากการแบ่งเซลล์คือ ส่วนปลายของโครโมโซมเรียกว่า ทีโลเมียร์ จะเกิดการสึกกร่อนทีละน้อย จนที่สุดส่วน ดังกล่าวก็หลุดหายไปทิ้งให้โครโมโซมอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถจำลองตัวได้อย่างที่เคยทำมาตลอดทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ส่งผลให้ดีเอ็นเออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายและสูญหายได้ โดยสรุป การสึกกร่อนของส่วนทีโลเมียร์เป็นคล้ายระเบิดเวลาที่ส่งเสียงติ๊ก ๆ อยู่ภายในเซลล์ เมื่อเกิดการระเบิดขึ้น เซลล์ที่ได้รับความเสียหายก็จำเป็นต้องแก่ตัวลงเพื่อจำกัดความเสียหาย
               ในเซลล์บางชนิดเอนไซม์ทีโลเมอเรสทำหน้าที่เหมือนน้ำซึ่งทำให้ชนวนระเบิดเปียกอันเป็นการยุติการหดสั้นของทีโลเมียร์ลง ยกตัวอย่างเช่น สเปิร์มหรือเซลล์ตัวอสุจิ ไม่ว่าจะมีการแบ่งตัวกี่ครั้งกี่หนภายในลูกอัณฑะส่วน ปลายของโครโมโซมก็ไม่เคยหดสั้นลงเลย ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทีโลเมอเรสทำงานแข็งขันตลอดเวลา หลักฐานอีกประการหนึ่งที่บอกนับว่าเอนไซม์นี้น่าสนใจคือ ความที่เซลล์ของตัวอ่อน (embryo) ก็มีเอนไซม์ทีโลเมอเรสที่แข็งขันเช่นกัน ซึ่งก็สอดคล้องด้วยดีกับความจริงที่ว่าเซลล์ของตัวอ่อนแบ่งตัวกันอย่างมากมายในมดลูก ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ชี้ว่าอาจเป็นไปได้ที่เราสามารถยืดส่วนปลายของโครโมโซมให้ยาวขึ้นเพื่อทำให้เซลล์ที่มีอายุมากกลายเป็นเซลล์เด็กได้ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าโมเลกุลที่คล้ายดีเอ็นเอซึ่งช่วยให้ส่วนปลายของโครโมโซมในเซลล์มะเร็งยืดยาวขึ้น นักวิจัยจึงนำเซลล์มะเร็งมาผสมกับเซลล์ปกติเกิดเป็นเซลล์ลูกผสมซึ่งไม่เป็นเซลล์มะเร็ง แต่มีส่วนปลายของโครโมโซมที่ยาวกว่าเซลล์ปกติและมีอายุยืนเป็น 2 เท่าของเซลล์ปกติอีกด้วย
             นักวิจัยผู้หนึ่งในกลุ่มลงความเห็นว่า ผลการทดลองยืนยันว่า ความยาวของส่วนปลายโครโมโซมคือนาฬิกาที่คอย "จับ" จำนวนครั้งของการแบ่งเซลล์ แต่นักชีววิทยายังไม่เชื่อง่าย ๆ จนกว่าจะมีใครสักคนค้นพบยีนของเอนไซม์ทีโลเมอเรสและใช้เทคนิคด้านพันธุวิศวกรรมทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมให้หนูทดลองมีส่วนปลายโครโมโซมที่ยาวขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าหนูทดลองดังกล่าวมีอายุยืนยาวกว่าหนูปกติ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น