วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชี่กง ฝึกลมหายใจ บำบัดโรค

       ชี่กงคือ การบริหารร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ หายใจ เคลื่อนไหว สมาธิ หลักของชี่กงตรงกับระบบรัการทางการแพทย์แบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการรักษาทางกาย ดังนั้นในการฝึกชี่กง กายคือการเคลื่อนไหว จิตคือภาวะสงบ
        การออกกำลังกายด้วยการฝึกชี่กงไม่ได้เน้นเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นหลัก เพราะคนแข็งแรงไม่จำเป็นต้องกล้ามใหญ่ แต่ต้องมีความว่องไว และความทนทานของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ชี่กงไม่ใช่สูตรสำร็จ จึงควรออกกำลังกายอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จ๊อกกิ้ง ไทเก๊ก หรือรำตะบอง

ผลของชี่กง
 •  ผลของจิตใจ  ที่สงบสบาย  ย่อมทำให้ร่างกายสมดุล  เจ็บไข้ได้ยาก  ที่ป่วยก็หายเร็วขึ้น
 •  ผลของสมาธิ  สมาธิที่เกิดระหว่างการฝึกจะทำให้สมองปลอดโปร่ง  ลดการทำงานของหัวใจ  ความดันเลือดลดลง  เนื่องจากการขยายของหลอดเลือดฝอย  ย่อมผ่นระบบประสาทอัตโนมัติ
 •  ผลของภูมิคุ้มกัน  ภูมิคุ้มกันที่ทำงานสมดุล  พบว่าการฝึกตนเองจะทำให้มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาว  ผู้ที่แพ้อากาศมักมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
 •  ผลต่อระบบโฮร์โมน  ทำให้ระบบฮอร์โมนเกิดความสมดุล  ตั้งแต่ต่อมใต้สมองไปจนถึงต่อมหมวกไต
 •  ผลของการออกกำลังกาย  การออกกำลังกายพร้อมกันทั้งกายใจ  ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง

กระบวนท่าในการฝึกชี่กง
 •  ท่าที่ 1ปรับลมปราณ 


  วางเท้าแยกกันด้วยความกว้างเสมอไหล่ ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า ปล่อยแขนทั้งสองข้างวางข้างลำตัว ค่อยๆหงายฝ่ามือแล้วยกขึ้น ผ่านทรวงอกถึงระดับคาง หายใจเข้าช้าๆแล้วควำฝ่ามือ ลดลงจนถึงระดับเอว ย่อเข่า จังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

  •  ท่าที่ 2 ยืดอกขยายทรวง

  จากท่าที่ 1 ซึ่งยังคงย่อเข่า ค่อยๆยกมือขึ้น และเคลื่อนมาช้าๆมาด้านหน้าจนถึงระดับอก จึงค่อยๆกางแขนออกไปจนสุดแขน หายใจเข้าช้าๆ ค่อยๆดึงมือกลับมาในทิศทางเดิม ลดฝ่ามือลงแนบข้างลำตัว ย่อเข่าจังหวะนี้หายใจออกช้าๆ
•  ท่าที่ 3 อินทรีทะยานฟ้า 

  จากท่าที่ 2 กางแขนออกทางด้านข้าง เหยียดขาตรง ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้า ลดแขนลงข้างลำตัว หายใจออก
  •  ท่าที่ 4 ลมปราณซ่านกายา 

  จากท่าที่ 3 ตวัดช้อนข้อมือจากด้านข้างเข้าหาตัว เสมือนเอาพลังจากธรรมชาติเข้ามาในร่างกาย หงายฝ่ามือยกขึ้นจนถึงระดับคาง แล้วคว่ำฝ่ามือลง ลดฝ่ามือ จนถึงระดับเอว ย่อเข่า(หากเป็นท่าจบ เมื่อลดฝ่ามือลงให้แขนแนบลำตัวไม่ต้องย่อเข่า) การวางจิตใจ ให้วางไว้ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น