วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Stem Cell เซลล์ต้นกำเนิด


เซลล์ไม่จำเพาะ
เป็นเซลล์อ่อนที่พร้อมจะเจริญเติบโต แบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ และเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์แต่ละเซลล์ในร่างกายของมนุษย์จะทำหน้าที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดย ไม่ย้อนกลับมา ซึ่งเซลล์ที่พัฒนาไปจนสุดทางจนเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง 
พบได้จากตัวอ่อนระยะ blastocyst และในเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย เช่น เลือด ไขกระดูก ฟันน้ำนม ผิวหนัง ปัจจุบันได้มีนักวิจัยมากมายที่สนใจในการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาโรค

สเต็มเซลล์จัดตามแหล่งที่ได้มาเป็นสองชนิดคือ
  • สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell) คือสเต็มเซลล์ที่เก็บส่วนของ inner cell mass จากตัวอ่อนของมนุษย์หรือสัตว์ที่ยังอยู่ในครรภ์ในระยะ blastocyst สเต็มเซลล์ใน ระยะนี้จะมีอายุเพียง 3-5 วัน หลังการปฎิสนธิ แม้จะมีจำนวนเซลล์ไม่มาก เมื่อเทียบกับ สเต็มเซลล์ที่ได้จากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย แต่เนื่องจากมันมีความสามารถในการพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นๆ ของร่างกายได้ จึงนับว่าเป็น สเต็มเซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาและวิจัยอย่างสูงสุด
  • สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย (Adult Stem Cell) คือสเต็มเซลล์ที่เก็บจากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย เช่นจาก ไขกระดูก เลือด ผิวหนัง ฟันน้ำนม เป็นต้น

และมีการจำแนกตามความสามารถในการนำไปพัฒนาได้อีก 3 ชนิด คือ
  1. Totipotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปได้แบบไม่จำกัด เช่น เซลล์ตัวอ่อนมนุษย์
  2. Pluripotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปได้หลายแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื่อเยื่อต่างๆของสิ่งมีชีวิต
  3. Unipotent cell คือ เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น

                                 จาก video จะเห็นการทำงานของ stem cell

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การกิน collagen จะดีหรือได้ผลจริงหรือ

คอลลาเจนเป็นโปรตีนในผิวหนังที่ทำให้ผิวเต่งตึง เมื่ออายุมากคอลลาเจนจะเสื่อม ดังนั้นควรบริโภคคอลลาเจนเข้าไปทดแทน ข้อมูลนี้เป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น 

ข้อเท็จจริง คือ คอลลาเจนเป็นโปรตีน เมื่อกินเข้าสู่ร่างกายจำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อย โปรตีนทุกชนิดจะถูกเอนไซม์หลายชนิดในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กย่อยสลาย จนกลายเป็นกรดอะมิโน ไม่เหลือสภาพความเป็นคอลลาเจน ไม่แตกต่างจากโปรตีนชนิดอื่นๆ คอลลาเจนไม่ได้ถูกดูดซึมไปทั้งเส้นแล้วตรงไปประกอบเข้าเป็นผิวหนังอย่างที่หลายคนจินตนาการจากคำโฆษณา   
คอลลาเจนชนิดที่ทาผิวก็ไม่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้เช่นกัน ด้วยตรรกะง่ายๆ ว่า ลำไส้ที่เป็นอวัยวะสำหรับดูดซึมสารต่างๆ จากภายนอกโดยเฉพาะยังไม่สามารถดูดซึมโปรตีนเล็กๆ สักโมเลกุล  คอลลาเจน เป็นโปรตีนที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ที่ร่างกายสร้างขึ้น ผิวหนังย่อมไม่สามารถดูดซึมได้อย่างแน่นอน

คอลลาเจนของสัตว์แต่ละชนิดล้วนแตกต่างกัน สังเกตได้ง่ายๆ จากเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา จะมีลักษณะและความยืดหยุ่นแตกต่างกัน ดังนั้นความแตกต่างของคอลลาเจนในสัตว์แต่ละชนิดจึงทำให้ ไม่สามารถนำคอลลาเจนจากสัตว์อื่นๆ มาทดแทน หรือรวมเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างผิวหนังของคน

ร่างกายคนนั้นเมื่อได้รับสารประกอบต่างๆ ที่ครบ ร่างกายก็จะประกอบ collagen ขึ้นมาเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีส่วนผสมของ collagen ซึ่งวัตถุดิบจำเป็นในการสังเคราะห์คอลลาเจนเราได้รับอย่างเพียงพอ จากอาหารอยู่แล้ว การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นให้กลไกทำงาน และการพักผ่อนช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสึกหรอช้าลง

หากต้องการให้ร่างกายมีคอลลาเจนอย่างเพียงพอ มีเพียงการบำรุงรักษากลไกของร่างกายที่ทำหน้าที่สร้างคอลลาจนเท่านั้น การบำรุงรักษานั้นเพียงแค่รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอเท่านั้นเอง 

ในผู้สูงอายุร่างกายมีการสร้างคอลลาเจนที่ผิวหนังน้อยลง ไม่ได้เป็นเพราะขาดกรดอะมิโนที่เป็นวัตถุดิบในการสร้าง แต่เป็นเพราะกลไกต่างๆ ในการสร้างคอลลาเจนเสื่อมไปตามอายุ การกินกรดอะมิโนเพิ่มขึ้นจึง แทบจะไม่ "ช่วยเสริมสร้าง" คอลลาเจนในผิวหนังเลย 



วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคพิษตะกั่ว (Lead Poisoning)

โรคพิษตะกั่ว (Lead Poisoning)
          ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะมีอุตสาหกรรมใหม่ๆ และมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย ผลจากการพัฒนานี้ทำให้มีการปนเปื้อนและสะสมของสารพิษ ทั้งในสิ่งแวดล้อมและในสิ่งมีชีวิต
          
ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่ผลิตและใช้มา ตั้งแต่๖,๐๐๐ ปีก่อน ในแถบ Asia Minor และพิษจากสารตะกั่วเป็นที่รู้จักกันมานานในหมู่ชาวกรีกและโรมัน ฮิปโปคราเตส (Hippocrates, ๓๗๐ ปีก่อนคริสตกาล) ได้บรรยายถึงอาการปวดท้องอย่างรุนแรงในคนงานสกัดโลหะตะกั่ว ซึ่งเป็นอาการปวดเกร็งของพิษตะกั่ว สำหรับประเทศไทยมีรายงานอุบัติการณ์ของโรคพิษตะกั่วครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๕ และมีรายงานผู้ป่วยโรคพิษตะกั่วมาตลอด โดยมีแนวโน้มจำนวนเพิ่มขึ้น
คุณสมบัติโดยทั่วไปของสารตะกั่ว
          ตะกั่วเป็นโลหะหนัก มีเลขอะตอมิก ๘๒โดยเป็นธาตุที่ ๕ ของหมู่ ๔A ในตารางธาตุ น้ำหนักอะตอมเท่ากับ ๒๐๗.๑๙ จุดหลอมเหลว๓๒๗.๕ องศาเซลเซียส จุดเดือด ๑,๗๔๐ องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ ๑๑.๓๔ วาเลนซี (Valency) ๐, +๒ และ +๔ ตะกั่วในธรรมชาติอยู่ในรูปของแร่กาลีนา คีรูไซต์ และแอนกลีไซต์
         
ตะกั่วบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาปนขาว สามารถแปรรูปได้โดยการทุบ รีด หล่อหลอมได้ง่าย สามารถผสมเข้ากับโลหะต่างๆ ได้ดี รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเกิดเป็นเกลือของตะกั่วต่างๆ
การใช้ตะกั่วในวงการอุตสาหกรรม
          แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. สารประกอบอนินทรีย์ตะกั่ว เช่น
                    ๑.๑ โลหะตะกั่วใช้ผสมในแท่งโลหะผสมหรือผงเชื่อมบัดกรีโลหะนำมาทำเป็นแผ่น หรือท่อโลหะใช้ในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อป้องกันการกัดกร่อน  แผ่นกรองในอุตสาหกรรมรถยนต์ ทำลูกปืนฉากกั้นสารกัมมันตรังสี
                    ๑.๒ ออกไซด์ของตะกั่ว ได้แก่
                    - ตะกั่วมอนอกไซด์ (Lead monoxide)ใช้ในอุตสาหกรรมสีโดยใช้เป็นสารสีเหลืองผสมสีทาบ้าน
                    - ตะกั่วไดออกไซด์ (Lead dioxide) ใช้ทำเป็นขั้วอิเล็กโทรดของแบตเตอรี่รถยนต์ และเครื่องจักร
                    - ตะกั่วออกไซด์ หรือตะกั่วแดง (Leadred oxide) ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ สีทาโลหะเพื่อกันสนิม เครื่องแก้ว ยาง และเครื่องเคลือบ
                    ๑.๓ สารประกอบของเกลือตะกั่ว คุณสมบัติ
มีสีต่างๆ กัน จึงนิยมใช้เป็นแม่สี หรือสีผสมในอุตสาหกรรมสี เช่น
                    - ตะกั่วเหลือง (Lead cromate) ตะกั่วขาว(Lead carbonate)
                    - ตะกั่วซัลเฟต (Lead sulfate) ใช้ในอุตสาหกรรมสีและหมึกพิมพ์
                    - ตะกั่วแอซิเตต (Lead acetate) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ครีมใส่ผม
                    - ตะกั่วซิลิเกต (Lead silicate) ใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้อง  และเครื่องเคลือบเซรามิกเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีผิวเรียบ เงางาม
                    - ตะกั่วไนเทรต (Lead nitrate) ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก  และยาง
                    - ตะกั่วอาร์ซิเนต (Lead arsenate) ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
          ๒. สารประกอบอินทรีย์ของตะกั่ว ได้แก่
                    - เททระเอทิลเบด (Tetraethyl lead) และเททระเมทิลเลด (Tetramethyl lead) โดยใช้เป็น"สารกันน็อก" หรือสารป้องกันการกระตุกของเครื่องยนต์เวลาทำงาน โดยใช้ผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อให้เชื้อเพลิงมีค่าออกเทนสูงขึ้น สารนี้มีสีแดงดังนั้นน้ำมันชนิดพิเศษทั้งหลายจึงมีสีแดง สารประกอบอินทรีย์ของตะกั่วค่อนข้างจะเป็นพิษมากกว่าตะกั่วอนินทรีย์ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายในอากาศได้ดี สำหรับตะกั่วที่ออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์จะอยู่ในรูปของตะกั่วออกไซด์ชนิด ต่างๆ ซึ่งจะเป็นตะกั่วอนินทรีย์ ปัจจุบันไม่ใช้ผสมในน้ำมันเบนซินแล้ว

การดูดซึมของตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย
         ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ๓ ทาง คือ
         ๑. การดูดซึมจากระบบทางเดินอาหาร แหล่งสำคัญ คือ การปนเปื้อนของตะกั่วในอาหาร น้ำ เครื่องดื่ม ยาสมุนไพรแผนโบราณและภาชนะเครื่องใช้ที่มีตะกั่วปนเปื้อน พบว่าร้อยละ ๗๐-๘๕ ของตะกั่วที่เข้าสู่ร่างกายคนปกติได้จากอาหาร  โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่สามารถดูดซึมตะกั่วจากอาหารได้ประมาณร้อยละ ๑๐ ของปริมาณตะกั่วในอาหารและเด็กสามารถดูดซึมได้มากถึงร้อยละ ๔๐-๕๐ ของปริมาณตะกั่วในอาหารตะกั่วที่เข้าไปกับอาหารจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จากลำไส้เล็กจะเข้าสู่ตับโดยผ่านทางเส้นเลือดดำใหญ่เข้าสู่กระแสเลือดการดูด ซึมตะกั่วในทางเดินอาหารนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ และภาวะโภชนาการโดยในภาวะที่ท้องว่างหรือได้รับอาหารที่ขาดธาตุแคลเซียม เหล็ก และทองแดง  หรือมีสารฟอสเฟตต่ำจะทำให้ตะกั่วถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
         ๒. การดูดซึมจากระบบทางเดินหายใจ การหายใจเอาควัน หรือฟูมของตะกั่วที่หลอมเหลวเข้าไป เช่น จากการหลอมตะกั่ว หรือเชื่อมโลหะ ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ร่างกายอันดับแรกของผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสตะกั่ว เช่น คนงานในโรงงานหลอมตะกั่ว แบตเตอรี่  โรงงานผลิตสีฯลฯ ตะกั่วสามารถดูดซึมผ่านถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้  โดยการดูดซึมจะเร็วมาก แต่ถ้าหายใจเอาอนุภาคของตะกั่วที่มีขนาดเล็กกว่า ๐.๗๕ไมครอน เข้าไป เช่น จากสีเก่าที่หลุดออกมา การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะช้ากว่า โดยทั่วไปร้อยละ๓๕-๕๐ ของตะกั่ว จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยวิธี ฟาโกไซโตซิส (Phagocytosis : คือ กระบวนการทำลายสิ่งแปลกปลอมโดยเม็ดเลือดขาว) อาการที่เกิดขึ้นมักจะรวดเร็วและรุนแรง การหายใจเอาอากาศที่มีไอหรืออนุภาคตะกั่วปริมาณ ๑ ไมครอนต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ  จะเพิ่มปริมาณตะกั่วในเลือดได้ ๑-๒ มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด ๑๐๐มิลลิเมตร ได้มีการกำหนดความเข้มของตะกั่วที่ให้มีได้ในอากาศโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อร่างกาย คือ ในบริเวณทำงานไม่ควรเกิน ๐.๒มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ สำหรับผู้ที่ทำงาน ๘ ชั่วโมงต่อวัน หรือ ๔๐-๔๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์  นอกจากนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณสูงๆ ในอากาศ จะช่วยให้การดูดซึมของตะกั่วในปอดเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้น
         ๓. การดูดซึมทางผิวหนัง เกิดเฉพาะตะกั่วอินทรีย์เท่านั้น ผู้ที่มีโอกาสได้รับตะกั่วทางผิวหนัง ได้แก่ คนงานที่ทำงานในปั๊มน้ำมัน ช่างซ่อมเครื่องยนต์ เนื่องจากในอุตสาหกรรมน้ำมันมีการเติม เททระเอทิลเบด(Tetraethyl lead) หรือเททระเมททิลเลด(Tetramethyl lead) ผสมในน้ำมันเบนซิน ดังนั้นเมื่อคนงานถูกน้ำมันหกรดผิวหนัง หรือใช้น้ำมันเบนซินล้างมือ เททระเอทิลสามารถละลายชั้นไขมันของผิวหนังได้ ตะกั่วจึงสามารถซึมผ่านผิวหนังและเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของร่างกายไปสู่ ตับ และจะเปลี่ยนเป็นไทรเอทิลเลด (Triethyllead) ได้ช้ามาก โดยมีค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ ๒๐๐-๓๕๐วัน ตะกั่วจึงสามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน
การกระจายของตะกั่วในร่างกาย

          หลังจากตะกั่วดูดซึมจากลำไส้แล้ว ตะกั่วจะเข้าสู่ตับโดยผ่านทางเส้นเลือดดำ บางส่วนจะถูกขับออกทางน้ำดีและอุจจาระ ถ้าหากตะกั่วเข้าไปในปอดจะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงได้เลยกระแสเลือดจะพา ตะกั่วไปทั่วร่างกาย โดยใช้เวลาประมาณ ๑๔ วินาที ตะกั่วที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายระยะแรกจะอยู่ในสภาวะเลดไดฟอสเฟต (leaddiphosphate) ซึ่งจะกระจายไปอยู่ที่เส้นผมและตามเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) เช่น สมอง ปอด ม้าม ตับ และไต จากนั้นบางส่วนจะถูกส่งไปสะสมที่กระดูกยาวในสภาวะเลดไทรฟอสเฟตโดยร้อยละ ๓๐ ของตะกั่วในร่างกายจะเก็บไว้ที่เนื้อเยื่ออ่อน และร้อยละ ๗๐ จะเก็บไว้ที่กระดูกยาวระดับตะกั่วในกระดูกค่อนข้างคงที่ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตะกั่วถูกปล่อยออกจากกระดูก คือสภาวะที่ร่างกายมีภาวะเครียดเกิดขึ้นเช่น มีไข้ภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของร่างกายผิดปกติการลดระดับแคลเซียมในร่างกาย หรือลดระดับแคลเซียมในเลือด ตะกั่วจะกลับออกจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด และไปอยู่ที่เนื้อเยื่ออ่อนดังกล่าวมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยซึ่งเดิมไม่มีอาการจะเกิดอาการโรคพิษตะกั่วเฉียบพลันได้
การสะสมของตะกั่วในร่างกาย
          ๑. ในกระแสเลือด โดยกว่าร้อยละ ๙๐ จะรวมตัวกับเม็ดเลือดแดง และส่วนที่เหลือจะอยู่ในน้ำเลือด ค่าครึ่งชีวิตของตะกั่วในเลือดประมาณ๒-๔ สัปดาห์
          ๒. ในเนื้อเยื่ออ่อน ที่สำคัญ คือ ตับ และไตมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ ๔ สัปดาห์
          ๓. ในกระดูก โดยร้อยละ ๙๐ ของตะกั่วที่สะสมอยู่ในร่างกายจะอยู่ในกระดูก ซึ่งอยู่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ และมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ ๑๖-๒๐ปียกเว้นในเด็ก ซึ่งประมาณร้อยละ ๗๐ เท่านั้นที่สะสมอยู่ในกระดูก

การขับถ่ายตะกั่วออกจากร่างกาย
          ร่างกายคนเราสามารถขับตะกั่วออกได้เต็มที่ประมาณ๒ มิลลิกรัมต่อวัน โดยขับออกทางปัสสาวะร้อยละ  ๗๕-๘๐ โดยผ่านกระบวนการกรองของไตนอกจากนี้ถูกขับออกทางเหงื่อ น้ำดี น้ำนม และขับออกทางอุจจาระ ประมาณร้อยละ ๑๕
กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว
          กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่

          ๑. คนงานที่ประกอบอาชีพสัมผัสสารตะกั่ว ได้แก่
          ๑. คนงานทำเหมืองตะกั่ว
          ๒. คนงานโรงงานถลุงแร่ตะกั่ว
          ๓. คนงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์
          ๔. คนงานโรงงานผลิตแบตเตอรี่
          ๕. คนงานโรงงานผลิตสี
          ๖. คนงานโรงงานชุบโลหะ
          ๗. คนงานโรงงานทำเครื่องปั้นดินเผา/เซรามิก
          ๘. คนงานโรงงานทำเครื่องประดับโลหะ
          ๙. คนงานโรงงานทำลูกปืน
          ๑๐. คนงานบัดกรีตะกั่ว
          ๑๑. คนงานเรียงพิมพ์ และหล่อตัวพิมพ์
          ๑๒. คนงานโรงงานผลิตและบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช
          ๑๓. คนงานทา หรือพ่นสีกันสนิม และสีทาบ้าน
          ๑๔. คนงานโรงงานผลิตแก้ว
          ๑๕. คนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำมันเบนซินที่ผสมสารตะกั่ว (ตะกั่วอินทรีย์) เช่น เด็กสถานีบริการน้ำมัน ช่างซ่อมเครื่องยนต์
          ๑๖. อาชีพอื่นๆ เช่น ตำรวจจราจร ฯลฯ

          ๒. บุคคลทั่วไป ได้แก่บุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณโรงงานหลอมตะกั่ว หรือใกล้โรงงานที่มีการใช้สารตะกั่ว บุคคลที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น หรืออยู่ใกล้ถนน  และผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องติดอยู่ในการจราจรที่แน่นขนัด

          ๓. เด็ก เนื่องจากพฤติกรรมของ เด็กที่ชอบหยิบสิ่งของใส่ปาก ซึ่งบางครั้งของที่หยิบใส่ปากนั้นมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ เช่น ของเล่นที่มีคุณภาพต่ำจะมีสารตะกั่วปนเปื้อน

          ๔. บุคคลในครอบครัวของคนงานที่ประกอบอาชีพสัมผัสตะกั่ว เนื่องจากฝุ่นตะกั่วสามารถติดอยู่ตามเสื้อผ้าผิวหนัง และผมของคนงาน  ทำให้ตะกั่วสามารถติดจากที่ทำงานไปสู่บ้านได้

          ๕. ทารกและเด็กที่ดื่มนมแม่ เนื่อง จากในหญิงมีครรภ์ ตะกั่วสามารถซึมผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้  โดยระดับตะกั่วในสายสะดือมีค่าเท่ากับระดับตะกั่วในเลือดของมารดาและหญิงให้ นมบุตรที่มีระดับตะกั่วในร่างกายสูงตะกั่วสามารถผ่านทางน้ำนมสู่ทารกที่ดื่ม นมแม่ได้

พิษของตะกั่วต่อร่างกาย
พิษตะกั่วในผู้ใหญ่          เมื่อตะกั่วเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีใดก็ตามหากมีการสะสมจนถึงระดับอันตรายก็จะแสดงอาการให้เห็น ดังนี้
          ๑. อาการทางระบบทางเดินอาการ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ โดยเริ่มจากมีอาการเบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก บางรายมีอาการท้องเสียอาการที่สำคัญคือ ปวดท้องอย่างรุนแรงมาก ที่เรียกว่า "โคลิก" เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลผู้ป่วยอาจปวดท้องจนดิ้นตัวงอ อาการปวดท้องนี้อาจทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคผิดว่าเป็นอาการปวดท้องเนื่องจาก สาเหตุทางศัลยกรรมได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบนอกจากนี้การดื่มสุรา หรือภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกั่วจากที่เก็บสะสมไว้ออกมาใน เลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องมากขึ้น นอกจากนี้อาจตรวจพบแนวเส้นตะกั่วบริเวณเหงือก (lead line) มีลักษณะเป็นเส้นสีน้ำเงิน-ดำ จับอยู่ที่ขอบเหงือกต่อกับฟันห่างจากฟันประมาณ ๑ มิลลิเมตร พบบ่อยบริเวณฟันหน้ากราม และฟันกราม
          ๒. อาการทางระบบประสาทส่วนปลาย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขาบางครั้งมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ
ถ้า ร่างกายได้รับตะกั่วปริมาณมากๆ เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อกลุ่มที่ทำหน้าที่เหยียด เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดข้อมืออ่อนแรง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ข้อมือตก หรือข้อเท้าตก การเป็นอัมพาตมักจะไม่ทำให้ประสาทความรู้สึกเสียส่วนมากมักจะเป็นเฉพาะกล้าม เนื้อข้างใดข้างหนึ่งของแขนหรือขาเท่านั้น และมักจะมีอาการข้างที่ถนัดก่อน
          ๓. อาการทางสมอง เป็นอาการแสดงที่พบว่ารุนแรงที่สุด มักพบในเด็กที่ได้รับตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณค่อนข้างสูง เช่น กินตะกั่วอนินทรีย์ หรือสูดเอาไอและละอองฝุ่นตะกั่วเข้าไปมาก สำหรับผู้ใหญ่พบได้น้อย โดยมากเกิดจากตะกั่วอินทรีย์ เช่น คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน มักมีอาการเริ่มต้นจากตื่นเต้น นอนไม่หลับ ฝันร้าย อารมณ์ฉุนเฉียว ปฏิกิริยาสะท้อนไวกว่าปกติ สติคุ้มดีคุ้มร้าย ในที่สุดอาจชัก หมดสติ และถึงแก่กรรมได้
          ๔. อาการทางโลหิต ผู้ป่วยมักจะมีอาการซีดเลือดจาง อ่อนเพลีย นอกจากอาการดังกล่าวแล้วผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ มึนงง ในรายที่เป็นเรื้อรัง พบว่ามีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ได้ด้วย

พิษตะกั่วในเด็ก

          ๑. ระบบประสาท โดยตะกั่วจะทำลายทั้งระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย ยิ่งอายุน้อยระบบประสาทยิ่งถูกทำลายมาก ดังนั้นในเด็กเล็กจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งนอกจากนี้ระดับตะกั่วในเลือด ๓๕ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป อาจมีอาการผิดปกติทางจิตประสาทได้ด้วย
          ๒. ระบบทางเดินปัสสาวะ ตะกั่วทำลายไตโดยตรง ทำให้เกิดการฝ่อลีบของบริเวณที่กรองปัสสาวะ
         
๓. ระบบเลือด นอกจากจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายแล้ว ตะกั่วยังขัดขวางการสร้างฮีมทำให้มีอาการซีด โลหิตจางได้
          ๔. พิษต่อหัวใจ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
          ๕. ระบบทางเดินอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อเรียบมีการเกร็ง เกิดอาการปวดท้องมาก
          ๖. นอกจากนี้ระดับตะกั่วในเลือด ตั้งแต่ ๒๕ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทำให้การเจริญเติบโตไม่สมอายุ

อาการโรคพิษตะกั่ว
           อาการโรคพิษตะกั่ว แบ่งได้เป็นระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
           ๑. พิษตะกั่วเฉียบพลัน อาการสำคัญที่พบ คือ อาการของโรคเนื้อสมองเสื่อมเฉียบพลันมักเกิดเมื่อระดับตะกั่วในเลือดสูงเกิน ๑๒๐ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร และมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า๓ ปี อาการอาจเริ่มด้วยชักและหมดสติ หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น เบื่ออาหาร ซีด กระวนกระวาย ซึม เล่นน้อยลง  กระสับกระส่าย เสียกิริยาประสานงาน อาเจียน มีอาการทักษะเสื่อมถอย โดยเฉพาะการพูด อาการจะมากขึ้นเรื่อยๆ ใน ๓-๖ สัปดาห์จากนั้นจึงมีอาการของโรคสมองเสื่อมตามมาใน ๒-๕วัน เริ่มด้วยอาการเดินเซ อาเจียนมาก ซึม หมดสติและชักที่ควบคุมลำบาก แต่จะไม่พบอาการปลายประสาทเสื่อม
           ๒. พิษตะกั่วเรื้อรัง อาการแสดงทางคลินิกที่พบในระบบต่างๆ มีดังนี้
                      ๒.๑ ระบบประสาทส่วนกลาง และประสาทสมอง อาการสำคัญที่พบ คือ สมองเสื่อมจากพิษตะกั่ว พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ มีอาการหงุดหงิดง่าย  กระวนกระวาย ซึม เวียนศีรษะ เดินเซหกล้มง่าย นอนไม่หลับ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงความจำเสื่อม  ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการสั่นเวลาเคลื่อนไหว ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ซึ่ง
โรคพิษตะกั่วในเด็ก      เป็นผลจากตะกั่วเข้าไปทำลายเซลล์ประสาททำให้เนื้อเยื่อสมองเกิดอาการบวม มีน้ำและสารต่างๆ ในเซลล์เพิ่มขึ้น เมื่อสมองถูกกดมากๆทำให้เนื้อสมองถูกทำลาย ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางมีอัตราตายประมาณร้อยละ๒๕ สำหรับผู้ที่รอดชีวิต ภายหลังการรักษาจะพบว่ามีความผิดปกติตามมาได้ ส่วนอาการทางประสาทสมอง พบว่าประสาทตาฝ่อและมีความผิดปกติในการทำงานของกล่องเสียง
                      ๒.๒ ระบบประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อ พบมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ กล้ามเนื้อที่ใช้บ่อยมีอาการอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดข้อมือ ข้อเท้า อ่อนแรง ทำให้เกิดอาการข้อมือตก ข้อเท้าตกอาจเป็นข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ อาการของระบบประสาทส่วนปลายพบมีอาการชา  ปลายประสาทอักเสบ
                      ๒.๓ ระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน โดยเริ่มแรกมักมีอาการท้องผูก แต่บางรายอาจมีอาการท้องเดิน น้ำหนักลด รู้สึกลิ้นรับรสของโลหะ เมื่อภาวะเป็นพิษเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องบีบเกร็ง และกดเจ็บ ทำให้มีอาการปวดท้องมาก เรียกว่า "โคลิก" นอกจากนี้อาจตรวจพบเส้นสีน้ำเงิน-ดำที่เหงือก ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนซัลไฟด์ของแบคทีเรียในช่องปากกับตะกั่ว โดยอาจพบได้ถึงร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยที่ได้รับตะกั่วสะสมมาเป็นเวลานานๆ
                      ๒.๔ ระบบโลหิต มักพบมีอาการซีดโดยทั่วๆ ไปจะมีลักษณะซีดจากการขาดธาตุเหล็กเนื่องจากตะกั่วจะเข้าไปยับยั้งกระบวน การสังเคราะห์ฮีมในไขกระดูก โดยขัดขวางการใช้เหล็ก และการสร้างโกลบินในไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีผลให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะต่างจากปกติมีจุดสีน้ำเงินกระจาย อยู่ภายใน (basophilic stippling) เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก และแตกง่าย อายุสั้นกว่าปกติความเป็นพิษต่อระบบโลหิตนี้มีผลต่อเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
                      ๒.๕ ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ได้รับตะกั่วเป็นเวลานานๆ อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรังเนื่องจากตะกั่วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและ หน้าที่ของไต โดยทำให้เซลล์ที่บุส่วนต้นของท่อภายในไตเกิดสารประกอบของตะกั่วกับโปรตีน ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสร้างพลังงานของไต โดยจะตรวจพบน้ำตาล  กรดอะมิโน และฟอสเฟตในปัสสาวะสูง รวมทั้งฟอสเฟตในเลือดต่ำเนื่องจาก
การ ดูดกลับลดลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จากการที่ร่างกายดึงฟอสเฟตจากกระดูกมาใช้และในรายที่เป็นเรื้อรังไตจะมีขนาด เล็กลง เส้นเลือดแข็ง และผู้ป่วยอาจเสียชีวิต เนื่องจากภาวะไตวาย นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะกรดยูริกคั่งในร่างกาย เกิดอาการของโรคเกาต์ได้
                      ๒.๖ ระบบโครงสร้าง ตะกั่วจะไปสะสมที่กระดูก โดยเฉพาะที่ส่วนปลายของกระดูกยาวเมื่อเอกซเรย์ดูจะพบรอยหนาทึบของตะกั่ว ฟอสเฟตพบได้ในเด็ก ถ้าร่างกายขาดแคลเซียมจะทำให้ร่างกายดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ เป็นผลให้ตะกั่วกลับเข้าสู่กระแสเลือดด้วย
                      ๒.๗ ระบบสืบพันธุ์ ผู้ที่ได้รับตะกั่วติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจพบอาการเป็นหมันได้ทั้งชายและหญิง โดยเพศชายจะมีจำนวนเชื้ออสุจิน้อยอ่อนแอ และมีลักษณะผิดปกติ ส่วนใหญ่เพศหญิงจะมีความผิดปกติของประจำเดือน รังไข่ทำงานผิดปกติ และแท้งได้
                      ๒.๘ ระบบอื่นๆ ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ และต่อมหมวกไตได้นอกจากนี้ตะกั่วเป็นสารก่อมะเร็ง อาจทำให้เกิดมะเร็งที่ไต เนื้องอกที่ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งเป็นสารก่อกลายพันธุ์ โดยทำให้เกิดความผิดปกติของดีเอ็นเอได้



Credit: นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา และ guru.sanook.com

พืช ผัก สมุนไพรล้างพิษ ในร่างกาย

วันนี้้เราขอแนะนำ พืช ผัก สมุนไพรล้างพิษในร่างกาย มาฝากทุกท่านที่กำลังใส่ใจและรักในสุขภาพของท่าน ด้วย พืช ผัก สมุนไพรล้างพิษ ในร่างกาย นี้เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้ออาหารการกินมากยิ่งขึ้น เพราะแทนที่คุณจะหาซื้ออะไรที่ไม่ได้ประโยชน์ต่อร่างกายแล้วบางครั้งกลับทำ ร้ายร่างกายอีกต่างหาก ฉะนั้นวันนี้เราจึงมี พืช ผัก สมุนไพรล้างพิษ ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกในการตัดสินใจที่จะช่วยในการดูแลร่างกายของคุณได้ อย่างดีเลยทีเดียวค่ะ นั้นเรามาดู พืช ผัก สมุนไพรล้างพิษ ในร่างกาย กันเลยดีกว่าค่ะ




20 พืช ผัก สมุนไพรล้างพิษ ในร่างกาย


1. กล้วย


มี คุณสมบัติในการบำรุงและสร้างความแข็งแรงแก่กระเพาะอาหาร ในขณะเดียวกันก็ให้เกลือแร่ทีจำเป็นแก่ร่างกาย เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกายโดยช่วยขับของเหลวหรือสารพิษส่วนเกินออก จากร่างกายได้ดีขึ้น การกินกล้วยเป็นประจำยังช่วยป้องกันท้องผูก ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติอีกด้วย


2. อัลมอนด์


เป็น ถั่วที่มีใยอาหารสูงมีแคลเซียมและโปรตีนที่ดีต่อร่างกายแม้จะมีไขมันแต่ก็ เป็นไขมันที่ดีและจำเป็นต่อร่างกาย ในระหว่างที่เราทำการล้างพิษจึงควรกินอัลมอนด์ นอกจากนี้อัลมอนด์ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งถ้าระดับน้ำตาลใน เลือดสูงก็จะเกิดอาการไฮเปอร์ไกลซีเมีย (Hyperglycemia) ทำให้รู้สึกหิวน้ำมากกว่าปกติ หายใจไม่ออกไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และหากน้ำตาลในเลือดต่ำที่เรียกว่าไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) จะทำให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลม ใจสั่น ไม่มีแรงคิดอะไรไม่ออก


3. แอปเปิ้ล


ประกอบ ไปด้วยเพกตินสูง เพกตินเป็นไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยจับคอเลสเตอรอลและโลหะหนักในร่างกายที่ ปะปนมากับอาหาร เช่น ปรอท ตะกั่ว ซึ่งทำลายเซลล์สมองนี่คือเหตุผลที่เราควรจะกินแอปเปิ้ล เพื่อล้างสารพิษออกจากร่างกายนอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ช่วยต่อต้านการเกิด มะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส จากการศึกษาทดลองยังพบว่า แอปเปิ้ลช่วยขับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหารซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็กและ ทำให้เกิดไมเกรนในผู้ใหญ่ได้


4. ตำลึง


ผัก ใบเขียวที่ขึ้นข้างรั้วหาง่ายและราคาไม่แพงนี้ ในสมัยก่อนเรามักนำมาทำแกงจืดตำลึงโดยใส่เนื้อสัตว์น้อย ๆ แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่า แกงจืดตำลึงจะมีตำลึงอยู่ไม่กี่ใบและมีหมูสับเต็มไปหมด ซึ่งตำลึงมีคุณสมบัติช่วยผลิตน้ำดีที่จะทำให้ลำไส้ขับสารพิษออกจากร่างกาย ได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารที่มีอยู่ในตำลึงยังช่วยให้ตับสลายไขมันในร่างกายด้วย


5. อะโวคาโด


อาจ ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักแต่ปัจจุบันเราก็สามารถหาซื้ออะโวคาโดได้จากตลาด ทั่วไป ในอะโวคาโดมีสารกลูตาไทโอน (Glutathione) ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลและป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นทั้งช่วยจับสารพิษที่เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็ง กว่า 30 ชนิด และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ตับกำจัดของเสียจำพวกสารเคมีและโลหะหนัก ซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) พบว่าผู้สูงอายุซึ่งกินอาหารที่มีสารกลูตาไทโอนสูงจะ มีสุขภาพดีกว่าคนที่ไม่ได้กินและมีอัตราการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์


6. บีตรูต


ผัก สีแดงที่นิยมใส่ในสลัดนี้นับเป็นผักมหัศจรรย์ซึ่งประกอบไปด้วยไพโรเคมีคอล (Phytochemical) วิตามินและเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งทำให้บีตรูตมีคุณสมบัติต่อต้านชื้อโรค ทำความสะอาดเลือด ทำความสะอาดตับและระบบน้ำเหลือง อีกทั้งมีคุณสมบัติพิเศษที่ส่งเสริมให้ร่างกายรับออกซิเจนได้มากขึ้น จึงช่วยกำจัดของเสียได้ง่ายและเร็วขึ้นซึ่งจากกการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบ ว่าบีตรูตช่วยปรับระดับกรดและด่างในเลือดให้สมดุลด้วย


7.กะหล่ำ


เต็ม ไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และช่วยตับขับฮอร์โมนที่มากเกินไป ซึ่งอาจเป็นฮอร์โมนความเครียดที่มีผลเสียต่อร่างกายทั้งยังช่วยทำความสะอาด ระบบย่อยอาหาร รักษาและปกป้องกระเพาะอาหารจากแบคทีเรียและไวรัสต่าง ๆ พืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลีและกะหล่ำปม ผักเหล่านี้ช่วยทำความสะอาดร่างกายและช่วยกำจัดของเสียจากสิ่งแวดล้อม เช่น ของเสียจากควันบุหรี่ควันจากท่อไอเสียและช่วยให้ตับผลิตเอนไซม์ออกมาให้ เพียงพอในการกำจัดของเสีย


8. บลูเบอร์รี่


เป็น ผลไม้ที่มีค่าแอนติออกซิแดนต์สูงมากชนิดหนึ่งและถือเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหาร รักษาโรค เนื่องจากในบลูเบอร์รี่มีสารแอสไพรินตามธรรมชาติซึ่งช่วยลดการระคายเคืองสาร ที่มีในบลูเบอร์รี่สามารถเข้าไปขัดขวางแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะส่งผลให้ลด การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ


9. กระเทียม


จาก หลายการศึกษาให้ผลตรงกันถึงคุณสมบัติของกระเทียมในการทำความสะอาดร่างกาย นั่นคือ การกินกระเทียมเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียขับและฆ่าพยาธิในทางเดินอาหาร และฆ่าเชื้อไวรัสโดยเฉพาะทำความสะอาดเลือดและทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่น และลดแรงดันโลหิต นอกจากนี้ยังต่อต้านการเกิดมะเร็งและทำให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น แต่ก็ควรระวังเรื่องการกินกระเทียมมากเกินไปซึ่งก่อให้เกิดลมหายใจที่มี กลิ่นกระเทียมไปด้วย


10. ส้มโอหรือเกรปฟรุต


เป็น ผลไม้รสชาติดีที่ได้รับความนิยมในอาหารมื้อเช้าของชาวตะวันตกสารเพกตินซึ่ง เป็นไฟเบอร์ประเภทหนึ่งในเกรปฟรุต สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดก่อนที่จะจับตัวเป็นก้อนและขวางทาง เดินในหลอดเลือด นอกจากนี้เพกตินยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โลหะหนักเหล่านี้ทำอันตรายต่อ ร่างกาย ส่วนเกรปฟรุตช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับอ่อน สารต้านอนุมูลอิสระในเกรปฟรุตช่วยปกป้องสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย





11. มะเขือพวง


คน ไทยนิยมใส่มะเขือพวงในอาหารประเภทผัดเผ็ด แกงป่า แกงกะทิและน้ำพริกสมัยก่อนแกงกะทิ เช่น แกงไก่ใส่มะเขือพวง ใส่ไก่น้อยเน้นการกินมะเขือเป็นหลัก แต่ปัจจุบันกลับตรงกันข้ามแกงไก่มักใส่ไก่มากกว่ามะเขือและคนก็เลือกกินแต่ ไก่จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในปัจจุบันมีรูปร่างอ้วนกว่าคนสมัยก่อน มะเขือพวงเป็นผักที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์ซึ่งสามารถช่วยดูดซึมไขมันในอาหารโดย เฉพาะอย่างยิ่งช่วยจับไขมันอิ่มตัว (ไขมันอันตราย) และขับออกจากร่างกายโดยระบบขับถ่ายทั้งยังมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ สูงจึงช่วยกำจัดของเสียออกจากระบบทางเดินอาหารได้เร็วขึ้นและลดการสะสมของ เสีย


12. แครอท


เต็มไปด้วย สารอัลฟาและเบตาแคโรทีน (Alpha and Beta-carotene) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินเอและถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม ช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วยระบบทางเดินประสาทสายตาผิวหนังที่ต้องสัมผัสแสงแดเป็นประจำ และจากการวิจัยพบว่า สารในแครอทช่วยลดการเกิดมะเร็งและช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจและหัวใจแข็งแรง ขึ้น


13. ขึ้นฉ่าย


ถือได้ ว่าเป็นสุดยอดอาหารในการทำความสะอาดเลือดและช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรกินขึ้นฉ่ายเป็นประจำหรือถ้าจะให้ดีควร ดื่มน้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายสดในตอนเช้า เพื่อช่วยควบคุมระดับแรงดันเลือดให้คงที่ในขึ้นฉ่ายยังประกอบไปด้วยสารต้าน การเกิดมะเร็งและสารที่ช่วยขับของเสียจากบุหรี่ในคนที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ด้วย


14. พืชตระกูลถั่ว


เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วขาว จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่กินถั่วเป็นประจำมีระดับคอเลสเตอรอลน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้กินและลด อัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วย พืชตระกูลถั่วนี้ประกอบด้วยไฟเบอร์สูงซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลทำความ สะอาดลำไส้ ลดการสะสมของสารพิษในลำไส้และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย


15. ทับทิม


ตำรา แพทย์แผนโบราณของชาวเอเชียกล่าวไว้ว่า การดื่มน้ำทับทิมสามารถรักษาอาการอักเสบและลดความปวดได้เนื่องจากในทับทิมมี สารแอสไพริน ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับแอสไพรินในยาแก้ปวด ช่วยล้างพิษ ลดการติดเชื้อของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายและลดอาการอักเสบสำหรับผู้ที่มี อาการไขข้ออักเสบปวดบวมช้ำแนะนำให้กินทับทิมเพราะช่วยลดอาการปวดลงได้ ขณะเดียวกันยังมีไฟเบอร์สูงซึ่งช่วยให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ดี ขึ้น


16. กระเจี๊ยบ


น้ำ กระเจี๊ยบมีคุณสมบัติช่วยทำความสะอาดแบคทีเรียและไวรัสออกจากระบบทางเดิน ปัสสาวะ ซึ่งมักก่อให้เกิดการติดเชื้อทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออก หรือมีเลือดปนหรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงซึ่งสารในกระเจี๊ยบสามารถฆ่า เชื้อแบคทีเรียและไวรัสเหล่านั้นได้


17. เมล็ดแฟลกซ์


ประกอบ ไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็นอย่างโอเมกา 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสมองช่วยบำรุงความจำและมีผลดีต่อหัวใจเพราะช่วยลดระดับคอ เลสเตอรอล นอกจากนี้ยังมีสารอื่นที่ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงขึ้น


18. มะนาว


เป็น สุดยอดอาหารที่ช่วยทำความสะอาดตับ มีวิตามินซีสูง น้ำมะนาวสดเมื่อนำมาผสมกับน้ำอุ่นแล้วดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอนจะช่วยล้างพิษ และทำให้เลือดสะอาดขึ้น แต่ถ้านำน้ำมะนาวสดผสมกับโยเกิร์ตและน้ำผึ้งก็จะเป็นอาหารที่ช่วยล้างพิษใน ลำไส้และป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย


19. หัวหอม


ประกอบ ไปด้วยสารต่อต้านมะเร็งหลายชนิดและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยทำความสะอาด เลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LD ซึ่งไม่ดี เพราะเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานดีขึ้น ช่วยรักษาโรคหอบโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และที่สำคัญคือช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่


20. สาหร่าย


เป็น พืชสีเขียวในทะเลที่หลายคนมองข้ามคุณประโยชน์ แต่จากการศึกษาของ Mcgill University ที่ Montreal แสดงผลว่า สาหร่ายสามารถจับของเสียจากรังสีที่สะสมในร่างกายในปัจจุบันเราไม่สามารถ หลีกเลี่ยงรังสีต่าง ๆ จากคลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นไมโครเวฟทั้งหลายได้ ซึ่งพลังงานความร้อนเหล่านี้เป็นอันตรายต่อร่างกายก่อให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งสาหร่ายจะช่วยดูดซึมคลื่นรังสีเหล่านั้นและสามารถจับกับพวกโลหะหนักได้ ด้วย นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยโปรตีนและเกลือแร่ในปริมาณมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไอเอ็นเอ็น ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

อาหารเครื่องยาจีนสำหรับบำรุงม้าม

อาหารเครื่องยาจีนสำหรับบำรุงม้าม ปรุงจากยาจีน
และอาหารที่มีประโยชน์ต่อม้าม มีสรรพคุณในการบำรุงม้าม และ
เกื้อกูลพลัง ปรับกระเพาะอาหารให้สู่สภาวะสมดุล เหมาะสำหรับ
บำบัดพลังพร่อง อาการอ่อนเพลีย มือเท้าไม่มีแรง วิงเวียนศีรษะ
และเหงื่อออกผิดปกติ หายใจถี่ เบื่ออาหาร ปวดบริเวณช่องว่าง
ของกระเพาะอาหาร อุจจาระเหลว หรือท้องเดิน สีลิ้นซีดมีฝ้าขาว
และชีพจรเต้นช้า เป็นต้น

          1. เนื้อปลาผัดห่วยซัว
          เอา เนื้อปลาคาร์ปดำ 250 กรัม
          ห่วยซัวสด 150 กรัม
          น้ำมันสลัด 3 ช้อนโต๊ะ
          เครื่องปรุงมี เหล้าเหลืองจีน 1 ช้อนโต๊ะ แป้งมัน 3
ช้อนชา หอม 2 ต้น ขิง 10-15 แว่น เกลือ 1/2 ช้อนชา น้ำมันงา
เล็กน้อย
          วิธีทำ ล้างเนื้อปลาให้สะอาด ลอกหนังปลา และล้าง
คาวปลาออก หั่นเนื้อปลาตามแนวขวางเป็นชิ้นๆ ใส่เหล้าเหลือง
และแป้งมัน 2 ช้อนชา คลุกให้เข้ากับเนื้อปลา เตรียมไว้ ปอก
เปลือกห่วยซัว ล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นแผ่นๆ ตั้งกระทะใส่
น้ำมัน พอน้ำมันร้อนเจียวหอม และขิงให้หอม ใส่เนื้อปลา และ
ห่วยซัวแผ่นลงไป กลับเนื้อปลาไปมาเบาๆ ระวังไม่ให้เนื้อปลา
แตก ใส่เกลือ แล้วผัดเนื้อปลา และห่วยซัวแผ่นจนสุก ผสมแป้งมัน
1 ช้อนชากับน้ำพอประมาณ คนให้เข้ากันแล้วเทลงไปคลุกกับเนื้อ
ปลา เหยาะน้ำมันงาเล็กน้อย กลับเนื้อปลาอีกที เป็นอันเสร็จ
รับประทานประจำเป็นกับข้าว
          สรรพคุณ บำรุงม้าม เสริมพลัง ห่วยซัวมีสรรพคุณ
บำรุงม้าม ระงับอาการท้องเดิน บำรุงไต ใช้ปรุงกับเนื้อปลาคาร์ป
ดำช่วยเสริมพลัง บำรุงกระเพาะอาหาร เนื้อปลาผัดห่วยซัวไม่
เพียงเสริมสุขภาพ ยังมีรสชาติกลมกล่อมด้วย สำหรับปลาคาร์ป
ดำถ้าไม่มี ใช้ปลาเฉาฮื้อ หรือหลีฮื้อแทนก็ได้

          2. กระเพาะหมูตุ๋นแปะตุ๊ก
          เอา กระเพาะหมู 1 อัน
          แปะตุ๊กผัด 30 กรัม
          หมากแห้ง 10 กรัม (หรือหมากสด 20 กรัม)
          เครื่องปรุงมี หอม 5 ต้น ขิง 5 แว่น เหล้าเหลืองจีน
2 ช้อนโต๊ะ
          วิธีทำ ล้างกระเพาะหมูให้สะอาด แล้วลวกด้วยน้ำ
เดือด เพื่อขจัดกลิ่นคาว และเมือก จากนั้นล้างให้สะอาดอีกครั้ง
ใส่แปะตุ๊ก และหมากลงในเหม้อพร้อมกัน เติมน้ำ 3 ถ้วย แช่ไว้
30 นาที แล้วตั้งไฟต้ม 30 นาที แยกกากออกเอาแต่น้ำ ใส่กระเพาะ
หมูในหม้อดิน ใส่เครื่องปรุง และน้ำแปะตุ๊กลงไป หากน้ำที่ต้มไม่
พอ เติมน้ำเพิ่มให้ท้วมกระเพาะหมู ตั้งไฟอ่อนตุ๋นจนกว่ากระเพาะ
หมูสุก และนุ่ม เป็นอันเสร็จ หั่นกระเพาะหมูเป็นชิ้นๆ จิ้มซี่อิ้ว และ
น้ำมันงา รับประทานกับข้าวเป็นประจำ
          สรรพคุณ บำรุงจ๋งขี่เสริมพลัง บำรุงม้าม และปรับ
กระเพาะสู่สภาวะสมดุล เป็นอาหารที่ดัดแปลงมาจากโจ๊กแปะ
ตุ๊กกระเพาะหมูในตำรา เฉิ้งจี้โจ่งลู่ แปะตุ๊กมีประโยชน์ต่อระบบ
การทำงานของม้าม และช่วยเสริมพลังในร่างกาย ทะลวงการ
อุดตันของอวัยวะภายใน กระเพาะหมูบำรุงม้าม และกระเพาะ
อาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ม้าม และกระเพาะอาหารอ่อนแอ ระบบ
ย่อยไม่แข็งแรง เบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนเพลีย ท้องอืด ระบบ
ขับถ่ายไม่ดี หมากนั้นมีส่วนทำให้สูญเสียพลังในร่างกายได้ ไม่
ควรรับประทานบ่อย เมื้อรับประทานไป 3-5 วันแล้ว ให้หยุด 3
วัน จนกระทั่งอาการดีขึ้นจึงหยุดรับประทาน

          3. บะหมี่หยกขาว
          เอา แป้งหมี่ 3,000 กรัม
          แป้งห่วยซัว 1,500 กรัม
          แป้งถั่วเหลือง 200 กรัม
          ไข่ไก่ 10 ฟอง
          เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
          วิธีทำ ใส่แป้งหมี่ แป้งห่วยซัว และแป้งถั่วเหลืองลง
ในภาชนะ ผสมให้เข้ากัน ตอกไข่ไก่ลงไป เติมน้ำ 5 ถ้วย และเกลือ
1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน และนวดให้เป็นก้อน ห่อก้อนแป้งด้วย
แผ่นพลาสติกใส ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นหั่นแป้งเป็นก้อนๆ
แล้วคลึงเป็นแผ่นบางๆ โรยแป้งหมี่บนแผ่นแป้งแต่ละแผ่น วาง
ซ้อนกันหลายๆแผ่น แล้วหั่นให้เป็นเส้น หากใช้ไม่หมดภายในหนึ่ง
มื้อ ที่เหลือให้โรยแป้งหมี่ แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อใช้ต่อไป แต่ไม่
ควรเก็บไว้นานเกินไป ใช้รับประทานเป็นอาหารหลักได้
          สรรพคุณ บำรุงม้าม และไต ห่วยซัวเป็นสมุนไพร บำรุง
ม้าม ปอด และไต ราคาถูก ไม่เลี่ยน ไม่ทำให้ร้อนใน ชาวจีนนิยมใช้
เป็นอาหารบำรุง และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์จีนว่า เป็นยา
บำบัดอาการพร่องของร่างกายที่ดียิ่ง จากการวิจัยทางการแพทย์
แผนปัจจุบันพบว่า ห่วยซัวประกอบด้วยธาตุบำรุงหลายชนิด มี
แป้งตะกอน ช่วยเสริมระบบย่อย และระบบทางเดินอาหาร สูตร
อาหารนี้จึงเหมาะสำหรับบำบัดอาการอุจจาระเหลว หรือท้องเดิน
น้ำอสุจิเคลื่อนบ่อยของผู้ชาย หญิงที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ
และปัสสาวะบ่อย ซึ่งมีสาเหตุจากม้าม และกระเพาะอาหารพร่อง
และอ่อนแอ
          หมายเหตุ บะหมีหยกขาวนี้เหมือนบะหมี่ทั่วไป จะทำ
เป็นบะหมี่น้ำ หรือบะหมี่แห้งก็ได้

          4. ซุปปลาลายคำ
          เอา ปลาลายคำ 1 ตัว ประมาณ 600 กรัม
          ผักชุนไฉ่ ชนิดบรรจุขวด 200 กรัม
          เครื่องปรุงมี เกลือ 1 1/2 ช้อนชา
          แป้งมัน 1 1/2 ช้อนชา
          น้ำมันงา เล็กน้อย
          หอม 2 ต้น ขิง 15 แว่น
          เหล้าเหลืองจีน 1 ช้อนโต๊ะ
          วิธีทำ ล้างปลาให้สะอาด วางบนจาน แล้วใส่ หอม ขิง
และเหล้า จากนั้นนึ่งประมาณ 10 นาที แล้วยกลง ลอกหนังปลา
ออก เลาะเนื้อปลาออกอย่าให้มีก้างเตรียมไว้ เติมน้ำ 4 ถ้วยลงใน
หม้อ ใส่เกลือ ต้มให้เดือด แล้วผสมแป้งมันเล็กน้อยเทลงไป ทำให้
ซุปข้น ใส่เนื้อปลา และผักชุนไฉ่ลงในซุป เหยาะน้ำมันงาเล็กน้อย
ต้มให้เดือด เป็นอันเสร็จ รับประทานเป็นกับข้าว
          สรรพคุณ เสริมพลัง เจริญอาหาร บำรุงเลือด และ
สารจำเป็นของร่างกาย เป็นสูตรอาหารที่มาจากตำรา ไคเป่าเปิ๋น
ฉ่าว ปลาลายคำมีประโยชน์บำรุงม้าม และกระเพาะอาหาร ผัก
ชุนไฉ่ช่วยเป็นส่วนผสม ช่วยเจริญอาหาร และเสริมพลัง เหมาะ
สำหรับผู้ที่ม้าม และกระเพาะอาหารพร่อง เบื่ออาหาร และมี
อาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
          หมายเหตุ ผักชุนไฉ่ เป็นผักที่มีมากในแหล่งน้ำทาง
ภาคใต้ของจีน ใบคล้ายใบบัวเล็ก ถ้าอยู่ในไต้หวัน จะซื้อผักชุน
ไฉ่บรรจุขวดได้ตามร้านขายของทั่วไป

          5. ซุปปลาจิ๊กฮื้อ
          เอา ปลาจิ๊กฮื้อ 1 ตัว 200 กรัม
          ขิงแก่หั่นเป็นแว่น 10 กรัม
          เปลือกส้มจีน (ฉิ่งพ้วย) 10 กรัม
          น้ำมันถั่วลิสง 2 ช้อนโต๊ะ
          เครื่องปรุงมี หอม 2 ต้น พริกไทย 10 เม็ด เหล้าเหลือง
จีน 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ และน้ำตาลทราย อย่างละ 1/2 ช้อนชา
          วิธีทำ ล้างปลา แช่เปลือกส้มให้นิ่ม และหั่นเป็นเส้น
ฝอย ตั้งกระทะใส่น้ำมัน เมื่อกระทะร้อน ใส่ต้นหอมลงเจียวให้
หอม แล้วใส่ปลาลงไปเจียวให้เหลืองทั้งสองด้าน ใช้ผ้าขาวบาง
ห่อขิง เปลือกส้ม และพริกไทย มัดให้แน่น ยัดใส่ท้องปลาแล้ว
วางปลาลงในหม้อดิน เติมเหล้าเหลืองจีน น้ำ 3 ถ้วย ตั้งไฟอ่อน
ตุ๋นประมาณ 1 ชั่วโมง จนน้ำซุปเป็นสีขาวนวล เติม เกลือ และ
น้ำตาลทราย และต้มให้เดือดอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ รับประทาน
ทั้งเนื้อปลา และซุป
          สรรพคุณ อุ่นจ๋งขี่ และสลายเย็น บำรุงม้าม และ
เพิ่มพลัง ขิงให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และแก้คลื่นไส้อาเจียน
เปลือกส้มบำรุงม้าม เสริมพลัง ช่วยทะลวง และระบายสิ่งอุดตัน
พริกไทยเป็นประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน นำสาม
สิ่งนี้มาปรุงกับปลาจิ๊กฮื้อ จะช่วยอุ่นจ๋งขี่ สลายเย็น บำรุงม้าม
และกระเพาะ มักใช้บำบัดอาการกระเพาะเย็น คลื่นไส้อาเจียน
อาหารไม่ย่อย และร่างกายอ่อนแอ

          น้ำขิง
          น้ำขิงร้อนช่วยให้คนไข้ฟื้นจากการสลบ ในตำรา
จางฉื้ออีโทง บันทึกไว้ว่า ว้างฉือชาน แพทย์มีชื่อ เคยรักษาคนไข้
รายหนึ่งที่ป่วยเป็นไข้หวัดหลายวันติดต่อกันจนสลบไปในที่สุด
นายแพทย์ว้างวินิฉัยว่า เกิดจากพลังจุกตันเรื้อรัง จึงจัดยาหม้อ
ประกอบด้วยโสม และยาอีกเจ็ดชนิด แต่ยายังต้มไม่เสร็จคนไข้
ก็หมดสติเสียก่อน นายแพทย์ว้างจึงสั่งคนให้โอบคนไข้ไว้ และ
ช่วยให้คนไข้หายใจทางปาก แล้วชงน้ำขิงร้อนๆ 1 ถ้วย กรอก
ใส่ปากคนไข้อย่างช้าๆ และห้ามเคลื่อนไหวคนไข้ เวลาผ่านไป
ไม่นานคนไข้ก็รู้สึกตัว จากนั้นจึงได้จัดยารักษาต่อไปตามลำดับ

          ปลาลายคำ
          ชื่ออื่นๆในภาษาจีน ได้แก่ อึ่งฮวยฮื้อ เจียะเถ่าฮื้อ
ในการประกอบอาหารจะใช้เนื้อของปลาตัวใหญ่ หรือตัวเล็กก็ได้
          รสชาติ และสรรพคุณ รสหวาน มีธาตุเป็นกลาง บำรุง
พลัง ช่วยเจริญอาหาร เสริมหยาง และสารจำเป็นของร่างกาย แก้
ท้องเดิน มักใช้บำบัดผู้ที่สุขภาพอ่อนแอ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
และตาพร่ามัว เป็นต้น
          ส่วนประกอบ และคุณค่าทางอาหาร มีโปรตีนสูง
ไขมัน แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และไรโบเฟลวิน
ในกระเพาะปลามีโปรตีนชนิดเหนียวข้น และน้ำตาล มีประโยชน์
ในการห้ามเลือด
          หมายเหตุ เนื้อปลาลายคำนุ่ม และหอม จะทอด นึ่ง
หรือทำเป็นน้ำแกงก็อร่อยทั้งนั้น หรือจะทำเป็นปลาเค็มก็ได้ เหมาะ
สำหรับสตรีที่เลือดพร่อง ประจำเดือนขาด แต่ไม่ควรรับประทาน
มาก จะทำให้มีเสมหะ

          ข้าวสาลี
          ชื่ออื่นๆในภาษาจีน ได้แก่ ห่วยเสียวแบ๊ะ ผู่เสียวแบ๊ะ
เป็นพืชตระกูลหญ้า เมล็ดข้าวสาลีที่โม่เป็นแป้ง เรียกว่า แป้งสาลี
หรือ แป้งหมี่
          รสชาติ และสรรพคุณ รสหวาน มีธาตุเย็น บำรุงหัวใจ
และสมอง เกื้อกูลไต ขับร้อน บรรเทาอาการอารมณ์หงุดหงิด กระ
หายน้ำ ท้องเดิน ช่วยขับปัสสาวะ มักใช้บำบัดสตรีที่อวัยวะภาย
ในแห้ง ปวดบวม ไฟลวก นอนไม่หลับ เหงื่อออกผิดปกติขณะนอน
หลับ บวมน้ำ เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด และเด็กที่เป็น
แผลในปาก
          ส่วนประกอบ และคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วย
แป้ง โปรตีน กลูโคส ไขมัน ไฟเบอร์ ทั้งยังมีสารสเตียรอยด์ แอล
กอฮอล์ ไรโบเฟลวิน และยีสต์ต่างๆ ที่ช่วยย่อยอาหาร รำข้าวสาลี
อุดมด้วยวิตามินบี และโปรตีน ช่วยผ่อนคลายประสาท
          ๐ วิธีใช้
          ข้าวสาลี 50 กรัม พุทราจีน 10 ลูก ชะเอม 9 กรัม ต้ม
รวมกัน ดื่มแต่น้ำ ขณะยังอุ่นอยู่ บำบัดสตรีอวัยวะภายในแห้ง
สุขภาพจิตไม่ดี หงุดหงิด โกรธง่าย
          หมายเหตุ ข้าวสาลีให้แคลอรีสูง มีวิตามีนอีช่วย
ชะลอความแก่ เหมาะกับผู้สูงอายุ ใบ และลำต้นใช้เป็นยาได้
หากรับประทานมากจะมีอาการท้องอืด กระหายน้ำ ผู้ที่มีอาการ
พลังสะดุด ปากแห้ง เป็นโรคร้อนชื้นไม่ควรรับประทานมากเกินไป

          กระเพาะหมู
          รสชาติ และสรรพคุณ รสหวาน มีธาตุอุ่น ช่วยเสริม
ส่วนพร่อง บำรุงม้าม และกระเพาะอาหาร เหมาะกับผู้ที่มีสุข
ภาพอ่อนแอ อุจจาระเหลว กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย และเด็ก
ที่ตัวผอม สุขภาพอ่อนแอ เป็นต้น
          ๐ วิธีใช้
ถ้าม้ามพร่อง ถ่ายอุจจาระเหลว ใช้กระเพาะหมูครึ่งอัน
ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับข้าวแกบี้ และห่วยซัว ต้มให้เป็น
โจ๊ก ก่อนรับประทานให้เติมขิงสด และปรุงรสด้วยเกลือ


                         อาจารย์ เกรียงไกร เถลิงพล ( ลี )



* อาหารที่บำรุงม้าม
คือ พืช ผัก ผลไม้ ที่มี....
-สีเหลือง- และมีรสเปรี้ยว แต่ต้องมีรสหวานตามจึงจะช่วยฟื้นฟูและบำรุงม้ามให้แข็งแรง เช่น น้ำเสาวรส น้ำบ๊วย น้ำมะนาว ที่มีสีเหลือง มีรสเปรี้ยว แต่ต้องกินกับน้ำผึ้ง จึงจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
-หวาน- ถ้ากินหวานโดดๆ จะเป็นโทษต่อกระเพาะอาหารและม้ามอย่างแรง คือ เกิดอาการ มึนเมา อ่อนเปลี้ย หมดแรง เช่น ละมุด ลำไย ฉะนั้น ผลไม้จึงควรกินก่อนอาหาร ผลไม้ที่จะกิน หลังอาหารได้มี มะละกอ สับปะรด มะม่วง (ใกล้สุก ที่มีรสเปรี้ยวหวาน) เพราะผลไม้ทั้ง ๓ ชนิด มีเอนไซม์ในการย่อยของตัวเองไม่ต้องรอจนกว่าแป้ง คาร์โบไฮเดรท และ โปรตีน ย่อยจนเสร็จก่อน จึงไม่เกิดการหมักในกระเพาะที่จะทำให้อืด
-ปลายฤดูร้อน- หรือ ต้นฤดูฝน อากาศจะชื้น มีผลทำให้กระเพาะอาหารและม้ามอ่อนแอลง ทำให้ท้องเสียได้ง่าย ถ้าเกิด อาการเช่นนี้ขึ้น ไม่ต้องตกใจ หรือรีบไปหายามากินแก้ท้องร่วง เพราะเป็นอาการที่ม้ามขับพิษออกจากร่างกาย ควรปล่อย ให้ร่างกายขจัดของเสียออกให้หมด ก็จะหยุดถ่ายเอง ถ้าไปกินยาระงับเอาไว้ พิษก็จะตกค้าง อยู่ในกระแสเลือด และน้ำเหลือง ควรจะดื่ม น้ำมะพร้าวที่อยู่ชายทะเล หรือบนเกาะที่เป็นสีเหลือง (King Coconut) จะมีประสิทธิภาพ ในการช่วยฟื้นฟูม้าม และขับพิษได้อย่างรวดเร็ว
-กล้ามเนื้อ- ความหวานจะซาบซึมไปตามกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหวานอย่างเดียว จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อน เปลี้ย ฉะนั้น หวาน ต้องมีรสเปรี้ยว และขมผสมกัน จึงจะทำให้ กล้ามเนื้อแข็งแรง
-ปาก- ปัญหา ที่เกิดมาจากกระเพาะอาหารและม้าม จะแสดงออกที่ริมฝีปากตอนบน บางครั้งก็เป็นแผล แสดงว่า ผู้นั้น กินอาหารรสจัด จนเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และทางเดินอาหา รตอนบน สีของริมฝีปากตอนบน มีสีชมพู แสดงว่า ระบบดูดซึมปกติ ถ้ามีสีขาว แสดงว่า ระบบดูดซึมอ่อนแอลง ถ้ามีสีเขียวคล้ำแสดงว่า มะเร็งกำลังก่อตัว
-กังวล- คน ที่มีความกังวลในเรื่องใดๆ บ่อยๆ จะทำให้กระเพาะอาหาร และม้ามอ่อนแอลง ส่งผลทำให้กระเพาะ อาหาร ไม่สามารถดูดซึมได้ดี และม้ามไม่สามารถขจัดเซลล์ เม็ดเลือดตาย ออกได้ จึงทำให้เลือดเป็นกรด และทำให้ มดลูกบวม หรือหย่อนในผู้หญิง ส่วนผู้ชาย จะส่งผลต่อต่อมลูกหมาก


นาฬิกาอวัยวะ (Organ clock) การหมุนเวียนของพลังงานในร่างกาย


เวลา ๑๑.๐๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. (หัวใจ-H)
เป็น เวลาที่พลังงานจะเคลื่อนไปที่หัวใจ ถ้าร่างกายไม่ได้สารอาหารหัวใจจะทำงาน ลำบาก ฉะนั้น คนที่หัวใจวาย มักจะเกิด ก่อนเที่ยง หรือหลังจากกินอาหารเที่ยง ดังนั้น เราจึงต้อง ระวังคนที่ ขาดอาหารเช้าเป็นประจำ จะทำให้ หัวใจวายได้ง่าย
หัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย ในภาวะปกติหัวใจจะสูบฉีดโลหิต ในระดับ ความดันปกติ หมายความว่า เซลลฺ์เม็ดเลือดแดง ยังไม่ถูกทำลาย ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ของผู้ชายมี ๔๐ ล้านเซลล์ ของผู้หญิงมีประมาณ ๓๕ ล้านเซลล์ ถ้านอน ๓ ทุ่ม เซลล์เม็ดเลือด จะแตก ๒.๕ ล้านเซลล์ แต่ถ้านอนดึกกว่านี้ เซลล์เม็ดเลือดจะแตกมากกว่านี้ ทำให้หัวใจ ต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายถี่ขึ้น แรงขึ้น เร็วขึ้น เป็นภาวะของ ความดัน-โลหิตสูง หมอ จะวินิจฉัยว่าขาด แมกนีเซียม ที่ได้จากผัก ถ้าได้แมกนีเซียม จากผักไปทดแทนเพียงพอ คือ กินผักวันละให้ได้ ๑ กิโลกรัม จึงจะสมดุล หรือไม่ก็อย่า นอนดึกเกิน ๓ ทุ่ม ความดันของหัวใจก็จะเป็นปกติ หลายต่อหลายคน ไปหาหมอ เพื่อแก้ความดัน โลหิตสูง หมอจะให้ยาลดความดันมา พอกินนานๆ เข้า ก็จะได้เบาหวาน มาด้วย แล้วก็ต้องมาแก้ เบาหวาน กับหมออีกคนหนึ่ง จึงต้องกินยา แก้เบาหวานไป จนวันตาย อย่างไม่มีทางเลือก แต่เมื่อหันมากิน แมกนีเซียม จากผัก วันละ ๑ กิโล จะทำให้โรคเบาหวานลดลง จนหายขาดได้
ทุกวันนี้น้อยคนนักที่จะกินผักได้วันละ ๑ กิโล และส่วนใหญ่จะนอนเกิน ๓ ทุ่ม ทั้ง ๒ กรณีนี้ ทำให้หัวใจต้อง ทำงานหนัก ไม่รวมถึง การกินของมัน ของหวาน และอาหารขยะ
ทุก ครั้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่หัวใจ เช่น เสียดหน้าอก ลิ้นหัวใจทำงานมาก ปวดแถวหัวใจ หายใจ ไม่สะดวก จะโทษว่า หัวใจ มีปัญหา และโทษว่าลิ้นหัวใจมีปัญหา ต้องผ่าตัด ทำบัลลูน ซึ่งความจริงแล้ว ต้นเหตุมาจากอาหารทั้งนั้น

การ แพทย์จีนถือว่ากลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยก ไม่ออก ครั้งนี้จึงขอกล่าวเพิ่มเติมว่า การแพทย์จีนยังมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา ๒๔ ชั่วโมงใน ๑ วันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านมาอวัยวะภายในของร่างกาย จีนเรียกว่า “จั้ง-ฝู่ ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะตันและอวัยวะกลวง
อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว
การไหลเวียนของพลังชีวิต(ลมปราณ)ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลา ๒ ชั่วโมง ทั้งหมดมี ๑๒ อวัยวะ รวม ๒๔ ชั่วโมง คือ ๑ วัน เรียกว่า นาฬิกาของอวัยวะภายใน (organ clock) เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ผู้เขียนขอแยกให้ท่านผู้อ่านเห็นอย่างชัดเจนของช่วงเวลากับเส้นลมปราณ ดังนี้
จาก การแบ่งช่วงเวลาการไหลเวียนของเส้นลมปราณ ทำให้การแพทย์จีนนำมาใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ รวมทั้งการรักษาผู้ป่วยด้วย ตัวอย่างเช่น การไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่ ๓.๐๐ น. และสูงสุดในช่วงประมาณ ๔.๐๐ น. จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณ ลำไส้ใหญ่เวลา ๕.๐๐ น. การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา ๓.๐๐-๕.๐๐ น. ได้มีการศึกษาวิจัย พบว่า ผลของการใช้ยาดิจิทาลิสในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (มีการคั่งของน้ำในปอด) การให้ยาในช่วงเวลา ๔.๐๐ น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐ เท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของพลังหยางและพลังยิน และการเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายใน มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายเราจึงมีกลไกการปรับตัว มีการสร้างสารคัดหลั่ง, ฮอร์โมน, การทำงานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็นหลักพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาวปราศจากโรค
การกิน : โดยปกติทั่วไปการแพทย์จีนได้เสนอว่า ควรกินอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ช่วงเช้าพลังหยางเริ่มเกิด, ร่างกายเริ่มปรับตัวทำงาน จึงต้องเตรียมพลังงานไว้ใช้ในตอนสาย ตอนเที่ยงเป็นช่วงพลังการทำงานร่างกายสูงสุด การกินจะหนักกว่ามื้ออื่นในขณะที่ตอนเย็นค่ำ ไม่ควรกินดึกเกินไปเพราะไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน และร่างกายพักผ่อน, หลับนอน มิฉะนั้นจะทำให้ร่างกายไม่มีเวลาพักอย่างเต็มที่ ทำให้เสื่อมเร็ว
การทำงาน-การพักผ่อนให้ พอเหมาะ นอนแต่หัวค่ำและตื่นนอนแต่เช้า ตื่นนอนแต่เช้า อุ่นเครื่อง (ออกกำลังกาย) เป็นการปรับสภาพร่างกายให้เพิ่มพลังหยาง เพื่อเตรียมรับกับสภาพการทำงานในช่วงกลางวัน และช่วงกลางวันควรทำงาน ช่วงกลางคืนควรพักผ่อน หลับนอน ช่วงที่พลังร่างกายแกร่งเป็นช่วงที่ควรใช้พลัง ช่วงที่ร่างกายมีสภาพพัก สรีระของร่างกายค่อนข้างสงบ ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับทำงาน ควรจะพักผ่อน การไม่ได้นอนหลับกลางคืนหรือเที่ยวกลางคืนจึงเป็นวิถีชีวิตในการบั่นทอน สุขภาพอย่างมาก
เรื่องกิจกรรมทางเพศเป็นทั้งภาวะผ่อนคลายขณะ เดียวกันก็มีการสูญเสียพลัง เพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมช่วยให้มีการพักผ่อนและหลับสบาย แต่เพศสัมพันธ์ที่มากเกินไปทำลายสุขภาพ นอกจากจะเสียพลังแล้วยังสูญเสียสารจำเป็นซึ่งจะทำลายอวัยวะภายใน คือ ไต (ทัศนะแพทย์จีนไม่ได้หมายถึงไตในเชิงกายวิภาค แต่รวมถึงต่อมหมวกไต และระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องด้วย) ทำให้เมื่อยล้า, ปวดเอว, เข่าอ่อนแรง, มึนงง, ไม่มีแรง, เสียงดังในหู, กามตายด้าน, หลั่งเร็ว หรืออาการประจำเดือนไม่ปกติในสตรี
กิจกรรมทางเพศจึงควรเสริมการพักผ่อน, หลับนอน ไม่ใช่ไปเพิ่มการสูญเสียพลังและสารจำเป็น ซึ่งจะกระทบกระเทือนสุขภาพในระยะยาว
หลัก การปฏิบัติตัวให้เกิดสมดุลและเหมาะสมกับสภาพเงื่อนไขของเวลา, บุคคล, สภาพแวดล้อม และดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มากไป, น้อยไป คือ สมดุลของชีวิตที่ทำให้มีสุขภาพที่ดีและยืนยาว

เพิ่มพลังสมอง ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว

เพิ่มพลังสมอง ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว

 
            ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า? เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิด ให้คิด ในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจาก คนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอก ชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีต หรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตนเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเอง เข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า, คิดไม่ชัดเจน คิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ
ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว?

1. เปลี่ยนความคิดจาก Negative >>> Positive
  • ทำงานอย่างมีเป้าหมาย : ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่า เรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น
  • ต้องรู้ระบบความคิดของเราก่อนว่า ความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ , เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น
  • ตัดความคิดในทาง Negative ทิ้งแล้วใส่ความคิด Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน , ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น
2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ จากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือ การสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิด Negative ได้ชั่วคราว

3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใด ถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้อง เหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากพูดคุยกับผู้อื่น, การอ่าน, ต้องคิดหา logic ด้วยตัวเอง, ต้องเห็นด้วยตา
ฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า
• รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว?
• ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด?

4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมอง จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม , การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะ สูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้เรามีความสดชื่น กระตือรือร้น แล้วเมื่อเราออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมอง function ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนซ้าย ส่วนขวา และสมองส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้เราใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วนได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว
6. ควรเข้าใจการทำงานของสมอง การทำงานของสมองในส่วนความจำจะทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้
  • ความจำระยะสั้น >>> ช่วงเช้า
  • ความจำระยะระยะยาว >>> ช่วงบ่าย
  • จำเกี่ยวกับตัวเลข >>> ก่อนนอน