วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เซลล์ชรา



telomerase
                       นักวิทยาศาสตร์พบว่าโมเลกุลชนิดหนึ่งซึ่งใช้เป็นดัชนีชี้บอกว่า เซลล์ใดเป็นเซลล์ชรา โมเลกุลดังกล่าวคือ เอนไซม์กาแล็กโตไซเดส (galactosidase) ในรูปซึ่ง ผิดปกติ โดยการใช้ดัชนีดังกล่าวนักวิจัยพบว่าในบุคคลอายุ 30 เศษ ๆ นั้นเกือบไม่มีเซลล์ชราเลย ผิดกับในบุคคลอายุ 70 หรือ 80 ซึ่งมีเซลล์ชราอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามผิวหนังทั้งผิว-หนังแท้และผิวหนังกำพร้า
                       เซลล์ชราเหล่านี้มีโปรตีน ยีน และกระบวนการทางชีวเคมีบางอย่างที่เปลี่ยนไป โดยที่การเปลี่ยนเหล่านั้นสามารถทำให้เซลล์ที่ว่าเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติได้ ยกตัวอย่าง เช่น เซลล์ผิวหนังที่ชราจะสร้างเอนไซม์คอลลาจิเนส ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ขณะที่เซลล์ผนังหลอดเลือด ลำไส้ และอวัยะภายในจะหลั่งสารอินเตอร์ลูคิน 1 ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อเมื่อเซลล์นั้นแก่ตัวลง
ยีนซึ่งควบคุมการสร้างเอนไซม์ชื่อทีโลเมอเรส (telomerase) อันเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันมิให้ส่วนปลายของโครโมโซมหดสั้นลงอาจเป็นกุญแจสำคัญสำหรับไขประตูแห่งความเป็นอมตะก็ได้ ถึงแม้ว่าเซลล์ทุกเซลล์ภายในร่างกายของเรามียีนนี้อยู่ แต่ก็มีเซลล์เพียงไม่กี่เซลล์เท่านั้นที่เปิดไฟเขียวให้ยีนดังกล่าวทำงานได้ ยกเว้นเซลล์เนื้องอกที่เปิดไฟเขียวให้ยีนนี้ตลอดเวลา มีหลักฐานงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เอนไซม์ทีโลเมอเรสนี้ช่วยให้เซลล์เนื้องอกอยู่ยงคงกระพัน นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดโทษกับร่างกายอาจเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่ทำให้เซลล์ปกติอ่อนเยาว์ ด้วยเหตุผลเป็นอย่างนี้
เมื่อเซลล์แบ่งตัวครั้งแล้วครั้งเล่า เหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เป็นผลจากการแบ่งเซลล์คือ ส่วนปลายของโครโมโซมเรียกว่า ทีโลเมียร์ จะเกิดการสึกกร่อนทีละน้อย จนที่สุดส่วน ดังกล่าวก็หลุดหายไปทิ้งให้โครโมโซมอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถจำลองตัวได้อย่างที่เคยทำมาตลอดทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ส่งผลให้ดีเอ็นเออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายและสูญหายได้ โดยสรุป การสึกกร่อนของส่วนทีโลเมียร์เป็นคล้ายระเบิดเวลาที่ส่งเสียงติ๊ก ๆ อยู่ภายในเซลล์ เมื่อเกิดการระเบิดขึ้น เซลล์ที่ได้รับความเสียหายก็จำเป็นต้องแก่ตัวลงเพื่อจำกัดความเสียหาย
               ในเซลล์บางชนิดเอนไซม์ทีโลเมอเรสทำหน้าที่เหมือนน้ำซึ่งทำให้ชนวนระเบิดเปียกอันเป็นการยุติการหดสั้นของทีโลเมียร์ลง ยกตัวอย่างเช่น สเปิร์มหรือเซลล์ตัวอสุจิ ไม่ว่าจะมีการแบ่งตัวกี่ครั้งกี่หนภายในลูกอัณฑะส่วน ปลายของโครโมโซมก็ไม่เคยหดสั้นลงเลย ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทีโลเมอเรสทำงานแข็งขันตลอดเวลา หลักฐานอีกประการหนึ่งที่บอกนับว่าเอนไซม์นี้น่าสนใจคือ ความที่เซลล์ของตัวอ่อน (embryo) ก็มีเอนไซม์ทีโลเมอเรสที่แข็งขันเช่นกัน ซึ่งก็สอดคล้องด้วยดีกับความจริงที่ว่าเซลล์ของตัวอ่อนแบ่งตัวกันอย่างมากมายในมดลูก ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ชี้ว่าอาจเป็นไปได้ที่เราสามารถยืดส่วนปลายของโครโมโซมให้ยาวขึ้นเพื่อทำให้เซลล์ที่มีอายุมากกลายเป็นเซลล์เด็กได้ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าโมเลกุลที่คล้ายดีเอ็นเอซึ่งช่วยให้ส่วนปลายของโครโมโซมในเซลล์มะเร็งยืดยาวขึ้น นักวิจัยจึงนำเซลล์มะเร็งมาผสมกับเซลล์ปกติเกิดเป็นเซลล์ลูกผสมซึ่งไม่เป็นเซลล์มะเร็ง แต่มีส่วนปลายของโครโมโซมที่ยาวกว่าเซลล์ปกติและมีอายุยืนเป็น 2 เท่าของเซลล์ปกติอีกด้วย
             นักวิจัยผู้หนึ่งในกลุ่มลงความเห็นว่า ผลการทดลองยืนยันว่า ความยาวของส่วนปลายโครโมโซมคือนาฬิกาที่คอย "จับ" จำนวนครั้งของการแบ่งเซลล์ แต่นักชีววิทยายังไม่เชื่อง่าย ๆ จนกว่าจะมีใครสักคนค้นพบยีนของเอนไซม์ทีโลเมอเรสและใช้เทคนิคด้านพันธุวิศวกรรมทำการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมให้หนูทดลองมีส่วนปลายโครโมโซมที่ยาวขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าหนูทดลองดังกล่าวมีอายุยืนยาวกว่าหนูปกติ






วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิตามินเพื่อบำรุงสมอง vitamins for the brain


วิตามินบี 1

อาหารที่มีวิตามินบี 1, ได้แก่ ข้าวซึ่งไม่ขัดขาวทุกชนิด ถั่วลิสง ผักทุกชนิด นม ยีสต์ และปลา. วิตามินบี 1 ไม่ได้ช่วยบำรุงสมองอย่างเดียว แต่ยังช่วยทำให้ร่างกายทั้งหมดมีพละกำลังแข็งแรงด้วย

วิตามินบี 2

อาหารที่มีวิตามินบี 2,ได้แก่ ยีสต์ เนยแข็ง ผักใบเขียว ปลา

วิตามินบี 6

อาหารที่มีวิตามินบี 6, ได้แก่ ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าว แคนตาลูป กะหล่ำปลี

วิตามินบี 12

อาหารที่มีวิตามินบี 12,ได้แก่ เนยแข็ง ปลา

Inositol and Choline

ได้จากผักใบเขียว, ยีสต์ ,จมูกข้าว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วแดง ,แคนตาลูป, ส้มโอ,องุ่นแห้ง, ถั่วลิสง, และกะหล่ำปลี

เลซิทิน ( Lecithin )

มีในถั่วเหลือง ข้าวโพด ถ้าคุณอยากจะกินเป็นเม็ด ซึ่งมักจะทำเป็นแคปซูลขนาดประมาณ 1,200 มิลลิกรัมให้กินวันละ 1 เม็ด

โพแทสเซียม (Potassium)

อาหารที่มีโพแทสเซียม ได้แก่ ผลไม้ซึ่งมีรสเปรี้ยว, แคนตาลูป, ฟัก ,น้ำมะเขือเทศ, ผักใบเขียว, สะระแหน่, เมล็ดทานตะวัน, กล้วย และมันฝรั่ง

กำมะถัน (Sulfur)

อาหารที่มีกำมะถัน ได้แก่ ถั่วแดง, ถั่วดำ, ถั่วเหลือง, ปลา, ไข่ และกะหล่ำปลี

สังกะสี ( Zinc)

อาหาร ที่มีสังกะสี ได้แก่ จมูกข้าว เมล็ดฟักทอง ยีสต์ มัสตาร์ดผง ธาตุสังกะสีเป็นสารสำคัญของร่างกาย จึงอยากจะแนะนำให้กินชนิดเป็นเม็ด 50 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด

นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการกินอาหารเพื่อเพิ่มพลังสมอง ดังนี้

1. จิบน้ำตลอดทั้งวัน
สมองคือการรวมตัวของกลุ่มเซลล์กลุ่มใหญ่ มีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 70-80 เปอร์เซนต์ ทำงานด้วยการส่งผ่านข้อมูลโดยเส้นใยของสมองที่งอกออกมาจากเซลล์ ถ้าขาดน้ำ ขนาดของเส้นใยก็จะหดเล็กลง ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ช้า “ น้ำจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับสมอง หากแต่ละวันดื่มน้ำน้อย จะทำให้เกิดสภาวะการขาดน้ำในเซลล์ส่งผลให้การทำงานของสมองลดประสิทธิภาพลง”
2. จำกัดปริมาณอาหาร
สมองมีน้ำหนักประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย แต่ต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงสมองประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายที่อ้วนเกินไปจึงไม่ใช่ร่างกายที่ดี เพราะนอกจากจะทำให้อวัยวะอื่นๆทำงานได้ช้าลงแล้ว เรายังต้องแบ่งออกซิเจนไปเลี้ยงไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย
3. ไม่กินน้ำตาลทรายขาว
น้ำตาล ทรายขาวจัดเป็นกลูโคสโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมง่าย จึงนำไปใช้งานได้เร็วมาก ซึ่งความเร็วไม่ได้หมายความว่าดี เพราะเมื่อดูดซึมได้ทันที ก็ใช้หมดเร็ว ก็ไม่มีความเสถียร เราจึงต้องคอยเติมน้ำตาลเข้าไปใหม่ตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากเราได้กลูโคสจากอาหารที่มีเส้นใย ร่างกายจะย่อยได้ช้าลงแล้วค่อยๆ ดูดซึม ทำให้มีความเสถียรมากกว่า ดังนั้นไม่ควรรับประทาน้ำตาลทรายขาว ควรรับประทานน้ำตาลอ้อยแทน
4.จัดสมดุลของสารอาหาร
สมอง ประกอบด้วยน้ำ  ไขมันและโปรตีน นอกจากน้ำแล้วเรายังต้องกินไขมันที่ดี เพื่อส่งเสริมให้สมองสร้างเส้นใยใหม่ได้ ไขมันที่ดี ได้แก่ น้ำมันมะกอก ซึ่งคุณสามารถหยดน้ำมันมะกอกใส่ลงไปในอาหารในแต่ละมื้อของคุณ และกินวิตามินเมล็ดแฟลกซ์ Flax seed เสริมด้วย ส่วนอาหารที่มีโปรตีนได้แก่ น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ เนื้อสัตว์ ปลา และนอกจากนี้ในแต่ละวันคุณควรกินผักและผลไม้ให้เยอะๆ เพื่อเพิ่มสารแอนติออกซิแดนต์ให้แกร่างกายคุณ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชี่กง ฝึกลมหายใจ บำบัดโรค

       ชี่กงคือ การบริหารร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ หายใจ เคลื่อนไหว สมาธิ หลักของชี่กงตรงกับระบบรัการทางการแพทย์แบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการรักษาทางกาย ดังนั้นในการฝึกชี่กง กายคือการเคลื่อนไหว จิตคือภาวะสงบ
        การออกกำลังกายด้วยการฝึกชี่กงไม่ได้เน้นเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นหลัก เพราะคนแข็งแรงไม่จำเป็นต้องกล้ามใหญ่ แต่ต้องมีความว่องไว และความทนทานของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ชี่กงไม่ใช่สูตรสำร็จ จึงควรออกกำลังกายอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จ๊อกกิ้ง ไทเก๊ก หรือรำตะบอง

ผลของชี่กง
 •  ผลของจิตใจ  ที่สงบสบาย  ย่อมทำให้ร่างกายสมดุล  เจ็บไข้ได้ยาก  ที่ป่วยก็หายเร็วขึ้น
 •  ผลของสมาธิ  สมาธิที่เกิดระหว่างการฝึกจะทำให้สมองปลอดโปร่ง  ลดการทำงานของหัวใจ  ความดันเลือดลดลง  เนื่องจากการขยายของหลอดเลือดฝอย  ย่อมผ่นระบบประสาทอัตโนมัติ
 •  ผลของภูมิคุ้มกัน  ภูมิคุ้มกันที่ทำงานสมดุล  พบว่าการฝึกตนเองจะทำให้มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาว  ผู้ที่แพ้อากาศมักมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
 •  ผลต่อระบบโฮร์โมน  ทำให้ระบบฮอร์โมนเกิดความสมดุล  ตั้งแต่ต่อมใต้สมองไปจนถึงต่อมหมวกไต
 •  ผลของการออกกำลังกาย  การออกกำลังกายพร้อมกันทั้งกายใจ  ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง

กระบวนท่าในการฝึกชี่กง
 •  ท่าที่ 1ปรับลมปราณ 


  วางเท้าแยกกันด้วยความกว้างเสมอไหล่ ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า ปล่อยแขนทั้งสองข้างวางข้างลำตัว ค่อยๆหงายฝ่ามือแล้วยกขึ้น ผ่านทรวงอกถึงระดับคาง หายใจเข้าช้าๆแล้วควำฝ่ามือ ลดลงจนถึงระดับเอว ย่อเข่า จังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

  •  ท่าที่ 2 ยืดอกขยายทรวง

  จากท่าที่ 1 ซึ่งยังคงย่อเข่า ค่อยๆยกมือขึ้น และเคลื่อนมาช้าๆมาด้านหน้าจนถึงระดับอก จึงค่อยๆกางแขนออกไปจนสุดแขน หายใจเข้าช้าๆ ค่อยๆดึงมือกลับมาในทิศทางเดิม ลดฝ่ามือลงแนบข้างลำตัว ย่อเข่าจังหวะนี้หายใจออกช้าๆ
•  ท่าที่ 3 อินทรีทะยานฟ้า 

  จากท่าที่ 2 กางแขนออกทางด้านข้าง เหยียดขาตรง ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้า ลดแขนลงข้างลำตัว หายใจออก
  •  ท่าที่ 4 ลมปราณซ่านกายา 

  จากท่าที่ 3 ตวัดช้อนข้อมือจากด้านข้างเข้าหาตัว เสมือนเอาพลังจากธรรมชาติเข้ามาในร่างกาย หงายฝ่ามือยกขึ้นจนถึงระดับคาง แล้วคว่ำฝ่ามือลง ลดฝ่ามือ จนถึงระดับเอว ย่อเข่า(หากเป็นท่าจบ เมื่อลดฝ่ามือลงให้แขนแนบลำตัวไม่ต้องย่อเข่า) การวางจิตใจ ให้วางไว้ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง

 

มะเร็งตับอ่อน



โรคมะเร็งตับอ่อน โรคที่คร่าชีวิต Steve Jobs


มะเร็งตับอ่อนคือเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคืออะดีโนคาร์ซิโนมาซึ่งเจริญมาจากเซลล์ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ (ต่อม exocrine) ของตับอ่อน อีกส่วนหนึ่งเป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเซลล์ไอสเล็ท และจัดเป็นเนื้องอกแบบนิวโรเอนโดไครน์ อาการของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง หรือดีซ่านได้

สาเหตุของโรคมะเร็งตับอ่อน?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคมะเร็งตับอ่อน แต่พบปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
    อายุ ดังกล่าวแล้วว่า เป็นโรคของผู้ใหญ่ โดยทั่วไป อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
  • เชื้อชาติ พบโรคได้สูงในคนอเมริกันผิวดำ เมื่อเปรียบเทียบกับคนผิวขาว
  • พันธุกรรมชนิดที่ส่งผลให้มีเนื้องอก และ/หรือมะเร็งได้หลายชนิดเกิด ขึ้นพร้อมๆกัน
  • โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
  • โรคเบาหวาน
  • ที่อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ แต่การศึกษายังมีข้อโต้แย้ง คือ ขาดสมดุลของสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา โรคอ้วน และขาดการออกกำลังกาย

 

อาการแรกเริ่ม

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่มักไม่ปรากฎอาการใน ระยะแรกๆ บางครั้งจึงถูกเรียกว่าเพชฌฆาตเงียบ (silent killer) และแม้ปรากฏอาการก็มักเป็นอาการที่ไม่มีความจำเพาะเจาะจง ดังนั้นบ่อยครั้งจึงวินิจฉัยไม่ได้จนกว่าโรคจะลุกลามไปมาก อาการที่พบบ่อยได้แก่
  • ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาจร้าวทะลุหลัง (พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่ส่วนตัวหรือส่วนหางของตับอ่อน)
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • น้ำหนักลด
  • ดีซ่าน ตัวตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่หัวของตับอ่อน (60%) และทำให้ท่อน้ำดีร่วม (common bile duct) ช่วงที่ผ่านตับอ่อนเกิดตันขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีอุจจาระสีซีดหรืออุจจาระเป็นมัน อาจมีอาการคันจากดีซ่านได้
  • อาการแสดงทรุสโซ (Trousseau sign)
  • เบาหวานหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่อง จากตับอ่อนทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนหลายคนเกิดมีเบาหวานขึ้นหลายเดือนหรือหลายปีก่อนตรวจพบ มะเร็ง ผู้สูงอายุที่ตรวจพบว่าเพิ่งมีเบาหวานขึ้นใหม่อาจเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของ มะเร็งตับอ่อน
  • พบโรคซึมเศร้าร่วมกับมะเร็งตับอ่อนได้บ่อยครั้ง บางครั้งมีก่อนตรวจพบมะเร็งตับอ่อน แม้ยังไม่ทราบความสัมพันธ์แน่ชัด
  • อาการของมะเร็งที่แพร่กระจาย ส่วนใหญ่มะเร็งตับอ่อนจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังตับ และอาจไปที่ปอดได้ บางครั้งอาจไปที่กระดูกหรือสมองก็ได้

การป้องกัน

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งตับอ่อน ดังนั้นที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังได้กล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ระวังอย่าให้น้ำหนักเกิน หรืออ้วน > ถ้าอ้วนควรออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เพื่อให้เป็นคนอ้วนฟิต (แข็งแรง) ให้ได้
  • ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ  เริ่มจากการเดินสลับเดินเร็ว (100 ก้าว/นาที; หรือ 25 ก้าว/15 วินาที; หรือเดินจนพูดได้ 2-5 คำก็เหนื่อย) + ขึ้นลงบันได รวมเวลากันให้ได้ 30 นาทีวัน + 5 วัน/สัปดาห์ขึ้นไป
  • ตับ อ่อนอักเสบเรื้อรังเพิ่มเสี่ยง  ป้องกันโดยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) และลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (ถ้าตรวจพบว่าสูง) 
  • กินผัก ผลไม้ทั้งผล (หรือน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก ไม่ใช่แยกกาก หรือกรองกาก) ให้มากพอเป็นประจำ
  • กินธัญพืชไม่ขัดสี โดยเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรือวันละ 1 มื้อ
  •  ลดอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนื้อสำเร็จรูป (ส่วนใหญ่จะปนไขมันไปด้วย เช่น ไส้กรอก ฯลฯ) และไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ฯลฯ
  • ลดเนื้อสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ 

4 อย่างที่ควรหลีกเลี่ยงในการออกกำลังกาย

exercise

1. ออกกำลังกายแต่ในยิม  เนื่องจากการออกกำลังกายต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ ในโรงยิมที่ปิด หากมีการระบายอากาศที่ดีก็ดีไป แต่หากโรงยิมหรือในที่ร่มที่ไหนจัดการเรื่องระบายอากาศไม่ดี ก็เสี่ยงต่อเชื่อโรคจากเหงื่อไคลของใครต่อใคร ฟุ้งกระจายในอากาศ ทางที่ดีควรเปลี่ยนไปออกกำลังกายกลางแจ้งบ้าง รับแดด รับลมที่บริสุทธิ์ สวนสาธารณะใกล้ๆบ้าน ก็เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง

2. เอาแต่ออกกำลังกายหน้ากระจก คนที่ชอบออกกำลังกายหน้ากระจก จะมีข้อเสียคือจะมัวแต่พะวังถึงท่าทางตัวเองตอนออกกำลังกาย จะทำให้ออกกำลังกายได้อย่างไม่เต็มที่

3. หักโหมออกกำลังอย่างหนัก แม้ว่าจะต้องการเห็นผลของการ ออกกำลังกายอย่างรวดเร็ว แต่การที่หักโหมออกกำลังกายอย่างหนักนั้น นอกจากอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายแล้ว ยังทำให้ร่างกายอ่อนแรง และจะทำให้ขี้เกียจ และเลิกล้มในการออกกำลังกายในวันต่อไป

4. มัวพะวงแต่กับตาชั่ง โอเคว่าตาชั่งเป็นตัววัดผลตัว หนึ่งของการออกกำลังกายของเราได้ แต่หากมัวแต่พะวงกับมันชั่งเช้า ชั่งเย็น ก็อาจจะทำให้เราเกิดการท้อแท้ ท้อใจได้ เอาเป็นว่านานๆดูครั้งก็พอ ไม่ต้องไปพะวงกับมันมาก
              การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ควรที่จะทำอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่จะต้องการดุแลสุขภาพ และ ตั้งใจชะลอความแก่ แล้วเป็นหนุ่มสาวด้วยกันนานๆนะครับ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม ลดความเครียด

Happiness

1. การนั่งสมาธิ  วิธีนี้ก็ทำง่ายๆคือทำจิตใจให้สงบ โดยพยายามไม่คิดถึงเรื่องต่างๆ โดยอาจกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างช้า โดยกำหนดสมาธิที่ลมหายใจ  วิธีนี้นอกจากจะไม่ทำให้ฟุ้งซ่าน หรือความคิดล่องลอยไปในเรื่องต่างๆแล้ว ยังเป็นการทำให้ร่างกายได้รับการผ่อนคลายเนื่องจากเมื่อเรากำหนดสมาธิที่ลม หายใจแล้วจะทำให้สามารถหายใจได้ทั่วท้อง ร่างกายจะได้รับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ เมื่อสมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอทำให้ลดอาการปวดหัว และการตึงเครียดของร่างกาย
2.ออกกำลังกาย  การออกกำลังกายมีประโยชน์มากมาย ช่วยคลายความเครียดเนื่องจากเมื่อเราออกกำลังกายสมองจะมีการหลั่งสารเอนโดร ฟีน หรือสารแห่งความสุขนั่นเอง โดยการออกกำลังกายก็สามารถทำได้ง่ายๆ ตามบทความเรื่องการออกกำลังกายที่เคยกล่าวมา
3.อโรมาเธอราพี  อโรมาเธอราพีคือการบำบัดโดยใช้อโรมาหรือน้ำมันหอมระเหยต่างๆ สามารถใช้กลิ่นใดก็ได้ที่คุณชอบเช่น เปเปอร์มิ้น ยูคาลิปตัส ตะไคร้หอม เลม่อน โดยอาจใช้วิธีนำมาทาบริเวณขมับหรือหน้าผาก ไม่ก็ใช้วิธีจุดน้ำมันหอมระเหยแล้วสูดดมก็ได้ โดยอาจใช้วิธีกำหนดลมหายใจโดยการทำสมาธิไปด้วย
4.การนวดกดจุดต่างๆ  วดจุดต่างๆ เมื่อมีอาการเครียด จะเกิดความตึงที่บริเวณคอไหล่ และกล้ามเนื้อหลังส่วนบน วิธีแก้ด้วยการหาจุดที่คุณปวดที่สุด ตามแผ่นหลังและข้างลำคอ ไล่นิ้วไปตามส่วนบน ของไหล่ตรงที่เชื่อมต่อลำคอ และบริเวณแผ่นหลังส่วนบ ที่ต่ำกว่าไหล่ลงไป ใช้ปลาย นิ้วสองนิ้วกดแน่นๆ 8-10 วินาที แล้วค่อยๆคลายออก นวดบริเวณนั้นเป็นรูปวงกลม ถ้าจะทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น นวดด้วยปาล์มสมุนไพร หรือน้ำมันอโรมาเธอราพีก็ยิ่งดี วิธีนี้ถ้าทำทุกวันนอกจากจะช่วยให้ผ่อนคลายแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ปวดศีรษะได้ด้วย
5.การท่องเที่ยว  ไปเที่ยวในสถานที่ธรรมชาติ รับอากาศบริสุทธิ์ เช่น น้ำตก ภูเขา ทะเล การสัมผัสกับธรรมชาติทำให้ร่างกายสดชื่นกระปี้กระเปร่า
6.ทำงานอดิเรกที่สนใจ จะทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน สนุก มีความสุข ลืมความเครียดที่มีอยู่ไปขณะหนึ่ง เต้นรำ ฟังเพลง 
7.พักผ่อนให้เพียงพอ คนที่เครียดมักจะมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับแล้วตื่นกลางดึก ฝันร้าย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การที่จะทำให้นอนหลับในตอนกลางคืนได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และอย่ากังวลว่าจะนอนไม่หลับ เข้านอนเป็นเวลา และหากยังไม่ง่วงก็ให้หากิจกรรมบางอย่างทำไปก่อน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ
การมองโลกในแง่ดีก็ทำให้เราไม่เครียดเช่นกัน  คิดบวกเข้าไว้ หัวเราะมากๆ จะช่วยป้องกันไม่เราเครียดง่าย ทำให้สุขภาพจิตดีซึ่งส่งผลให้สุขภาพร่างกายดีไปด้วย ชะลอความแก่ ทำให้เป็นหนุ่มสาวได้นานๆ

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดื่นนม แล้วดี

  
   ทำไมคนถึงไม่ชอบดื่มนม 

เพราะ ดื่มนมแล้วท้องเสีย โดยเฉพาะในคนไทยและคนในทวีปเอเชียและแอฟริกาทำให้บางคนเลิกดื่มนมไปเลย หลาย ๆ คนที่เกิดอาการนี้มักจะคิดว่า ตนเองแพ้นมวัว ดื่มนมทีไร ท้องเสียทุกครั้ง ความจริงก็คือ คนไทย คนแถบเอเชียและคนแถบแอฟริกานั้น จะมีน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแลคโตสตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4-5 ปี หลังจากอายุนี้ น้ำย่อยนี้จะลดน้อยลงจนหมดไป จึงย่อยน้ำตาลแลคโตส ไม่ได้ ต้องเข้าใจให้ดีว่า น้ำตาลแลคโตสนี้พบในน้ำนม ที่ได้มาจากสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นนมวัวหรือนมแพะ จึงทำให้ดื่มนมที่ได้จากสัตว์ทีไรทำให้ท้องเสียทุกครั้งไป 
  แต่ในปัจจุบันมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ดื่มนมวัวแล้วไม่เกิดอาการใด ๆ เลย ในทางการแพทย์เชื่อว่าเมื่อมีการดื่มนมวัวอย่างต่อเนื่อง แบคทีเรียในลำไส้จะมีการสร้างน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสนี้ขึ้นมา ซึ่งจะย่อยน้ำตาลแลคโตส ได้ จึงทำให้คนที่ดื่มนมอย่างต่อเนื่องจะไม่เกิดปัญหาการย่อยนมที่ดื่ม
   นอก จากอาการท้องเสียแล้ว อาการอื่นที่คนทั่วไปอาจนึกไม่ถึงว่าเกิดจากการย่อยนมไม่ได้ดีก็คือ อาการท้องอืด จุกเสียด และแน่นหน้าอก รวมทั้งการผายลมบ่อย ๆ
     ความ เป็นจริง เราสามารถจะชนะอาการเหล่านี้ได้ทุกคน ขออย่าได้ท้อแท้ โดยในขั้นแรกให้ดื่มนมหลังรับประทานอาหารเช้า โดยดื่มประมาณ 30 มล. วันเว้นวัน ถ้ามีอาการดังที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในครั้งต่อไปก็ให้ลดจำนวนนมลงมาครึ่งหนึ่ง จนมั่นใจว่า ไม่มีอาการ เช่น ดื่มนมหลังอาหารเช้าเพียง 15 มล. แล้วไม่เกิดอาการใด ๆ ก็ให้คงการดื่มนั้น ไปสัก 7 วัน ในสัปดาห์ต่อมาให้ดื่มนมเพิ่มเป็น 30 มล. โดยให้ดื่มทุกวันหลังอาหารเช้าเช่นเดิม และในสัปดาห์ต่อมาจึงเพิ่มเป็น 60 มล. ทุก ๆ วัน แล้วเพิ่มครั้งละ 30 มล. ในทุกสัปดาห์ ถ้าไม่มีอาการใด ๆ ก็ให้เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จน ถึง 240 มล. หรือประมาณ 1 แก้ว หรือ 1 กล่องนม ก็จะเป็นจำนวนนมที่ต้องการได้ ในกรณีที่เพิ่มไปได้เพียง 150 มล. แล้วเกิดอาการจุกเสียด ก็ให้ลดลงมาในระดับก่อนหน้าที่ไม่เกิดอาการ แล้วคงระดับนั้นไปอีก 2-3 สัปดาห์จึงค่อยเพิ่มจำนวนอีกครั้งหนึ่ง

          เมื่อ สามารถดื่มนมได้ครั้งละ 240 มล. หลังอาหารโดยไม่เกิดอาการใด ๆ ก็มีโอกาสสูงที่จะสามารถดื่มนมในขณะท้องว่างหรือก่อนอาหารได้ โดยในขั้นแรกอาจจะลองดื่มเพียง 60 มล. ก่อน แล้วค่อยเพิ่มเป็นครั้งละ 120, 180 และ 240 มล. ตามลำดับถ้าสามารถดื่มนมครั้งละ 240 มล. ในขณะท้องว่างโดยไม่เกิดอาการใด ๆ ภายหลังดื่ม 8 ชั่วโมง ก็แสดงว่าไม่มีปัญหาการย่อยและดูดซึมนมแล้ว ต่อไปก็ควรเพิ่มการดื่มนมเป็นวันละ 2 แก้ว หรือ 2 กล่อง

          เนื่อง จากนมวัวที่เรานำมาดื่มนั้นมีการปรับแต่ง ทำให้มีหลายคุณภาพ โดยเฉพาะทางด้านไขมัน ที่เราเรียกว่า นมสด หรือรสจืดจะมีไขมันอยู่ 4% นมพร่องมันเนยจะมีไขมันอยู่ 2% และนมขาดมันเนยจะไม่มีไขมันเลย แต่นมทั้ง 3 ชนิดมีน้ำตาลแลคโตสเท่ากันคือ 4-5% จึงแตกต่างกันเฉพาะจำนวนไขมัน จึงให้พลังงานที่แตกต่างกัน แต่ให้จำนวนแคลเซียม แร่ธาตุ น้ำตาลนมและโปรตีนเท่ากัน โดยนมวัวสด นมพร่องมันเนย และนมขาดมันเนย จะให้พลังงาน 170, 130 และ 85 กิโลแคลอรีต่อ 240 มล. ตามลำดับ สำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมแล้ว แนะนำให้ดื่มนมขาดมันเนย เพื่อจะลดจำนวนพลังงานที่ได้จากนม

  
  นม เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน และ แคลเซี่ยม เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีเรา ควรดื่มนมอย่างน้อยวันละหนึ่งแก้ว มีการเสนอผลการวิจัยว่า การดื่มนมอุ่นๆ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือเท่ากับอุณหภูมิร่างกายของเราเอง จะมีผลดีมากที่สุด เนื่องจาก โปรตีนและแคลเซี่ยมจากนม จะสามารถแตกตัวได้ดีกว่า การดื่มนมเย็น นอกจากนี้ การดื่มนมอุ่นยังส่งผลช่วยในการขยายหลอดเลือดฝอย ส่งผลให้สารอาหารต่างๆที่ลำเลียงผ่านหลอดเลือดเดินทางไปได้ดีขึ้นอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เส้นลมปราณหลัก 12 เส้น






หนังสือคัมภีร์แพทย์แผนจีนเล่มแรกชื่อ “หวงตี้เน่ยจิง” เขียนขึ้นสมัยชุนชิว (770 -476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ประมาณเกือบ 2,500 ปีก่อน คัมภีร์เล่มนี้เกิดจากการรวบรวมประสบการณ์ทางการแพทย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยชุนชิว ซึ่งนับว่าเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมเอาประสบการณ์ในการปฏิบัติทางการแพทย์อันยาว นานของชนชาติจีน


เนื้อหาของคัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ตำรา “ซู่เวิ่น” และตำรา “หลิวซู”
ตำรา “หลิวซู” มีเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเส้นลมปราณตั้งแต่ทฤษฎี เส้นทางเดิน จุดฝังเข็ม การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรค

“เส้น” ในความหมายของแพทย์แผนจีน จึงมีความหมายเกี่ยวกับเส้นลมปราณ ซึ่งมีแนวทางการเดินที่แน่นอน

ดังนั้น “เส้น” ในความหมายดังกล่าว ก็คือ ความสัมพันธ์ของโรคอวัยวะภายใน สามารถสะท้อนความผิดปกติออกมาที่บริเวณแขน ขา ลำตัว ศีรษะ ความผิดปกติที่ส่วนนอก แขน ขา ลำตัว ศีรษะ ก็สามารถมีผลกระทบต่อโรคภายในหรืออวัยวะภายในได้

เส้นลมปราณในความหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไร ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์ ในแพทย์แผนจีนบอกเพียงว่า มีหน้าที่ลำเลียงขนส่งเลือดและพลังลมปราณไหลเวียนไปยังอวัยวะภายใน และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

เส้นทางเดินของเส้นลมปราณหลักมี 12 เส้น ดังนี้
- เริ่มจากอวัยวะในร่างกายบริเวณทรวงอก ออกสู่ภายนอกมาที่แขนด้านในมี 3 เส้นหลัก ไปสิ้นสุดบริเวณปลายนิ้วมือ
- จากปลายนิ้วมือเดินทางผ่านมือ แขน หัวไหล่ ด้านนอกไปสิ้นสุดบริเวณศีรษะและใบหน้ามี 3 เส้นหลัก (มีเส้นแยกแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน)
- จากศีรษะเดินทางมาด้านข้าง ศีรษะ ลำตัว มายังขาด้านข้างหรือด้านหลังไปบริเวณเท้า 3 เส้นหลัก (มีเส้นแยกแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน)
- จากเท้าเดินทางมาตามขาด้านในผ่านหน้าท้อง (มีแขนงเชื่อมกับอวัยวะภายใน) เข้าบริเวณทรวงอก นอกจากนั้น ยังมีเส้นที่วิ่งผ่านกลางลำตัวด้านหน้าและด้านหลังอีกรวม 2 เส้น

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การส่งถ่าย ออกซิเจน ไปสู่ เซลล์ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์

โดยปอดจะส่งออกซิเจนให้เม็ดเลือดแดงซึ่งมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน
แล้วออกซิเจนจะเคลื่อนไปกับเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงจะส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย