วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นาฬิกาอวัยวะ (Organ clock) การหมุนเวียนของพลังงานในร่างกาย


เวลา ๑๑.๐๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. (หัวใจ-H)
เป็น เวลาที่พลังงานจะเคลื่อนไปที่หัวใจ ถ้าร่างกายไม่ได้สารอาหารหัวใจจะทำงาน ลำบาก ฉะนั้น คนที่หัวใจวาย มักจะเกิด ก่อนเที่ยง หรือหลังจากกินอาหารเที่ยง ดังนั้น เราจึงต้อง ระวังคนที่ ขาดอาหารเช้าเป็นประจำ จะทำให้ หัวใจวายได้ง่าย
หัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย ในภาวะปกติหัวใจจะสูบฉีดโลหิต ในระดับ ความดันปกติ หมายความว่า เซลลฺ์เม็ดเลือดแดง ยังไม่ถูกทำลาย ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ของผู้ชายมี ๔๐ ล้านเซลล์ ของผู้หญิงมีประมาณ ๓๕ ล้านเซลล์ ถ้านอน ๓ ทุ่ม เซลล์เม็ดเลือด จะแตก ๒.๕ ล้านเซลล์ แต่ถ้านอนดึกกว่านี้ เซลล์เม็ดเลือดจะแตกมากกว่านี้ ทำให้หัวใจ ต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายถี่ขึ้น แรงขึ้น เร็วขึ้น เป็นภาวะของ ความดัน-โลหิตสูง หมอ จะวินิจฉัยว่าขาด แมกนีเซียม ที่ได้จากผัก ถ้าได้แมกนีเซียม จากผักไปทดแทนเพียงพอ คือ กินผักวันละให้ได้ ๑ กิโลกรัม จึงจะสมดุล หรือไม่ก็อย่า นอนดึกเกิน ๓ ทุ่ม ความดันของหัวใจก็จะเป็นปกติ หลายต่อหลายคน ไปหาหมอ เพื่อแก้ความดัน โลหิตสูง หมอจะให้ยาลดความดันมา พอกินนานๆ เข้า ก็จะได้เบาหวาน มาด้วย แล้วก็ต้องมาแก้ เบาหวาน กับหมออีกคนหนึ่ง จึงต้องกินยา แก้เบาหวานไป จนวันตาย อย่างไม่มีทางเลือก แต่เมื่อหันมากิน แมกนีเซียม จากผัก วันละ ๑ กิโล จะทำให้โรคเบาหวานลดลง จนหายขาดได้
ทุกวันนี้น้อยคนนักที่จะกินผักได้วันละ ๑ กิโล และส่วนใหญ่จะนอนเกิน ๓ ทุ่ม ทั้ง ๒ กรณีนี้ ทำให้หัวใจต้อง ทำงานหนัก ไม่รวมถึง การกินของมัน ของหวาน และอาหารขยะ
ทุก ครั้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่หัวใจ เช่น เสียดหน้าอก ลิ้นหัวใจทำงานมาก ปวดแถวหัวใจ หายใจ ไม่สะดวก จะโทษว่า หัวใจ มีปัญหา และโทษว่าลิ้นหัวใจมีปัญหา ต้องผ่าตัด ทำบัลลูน ซึ่งความจริงแล้ว ต้นเหตุมาจากอาหารทั้งนั้น

การ แพทย์จีนถือว่ากลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยก ไม่ออก ครั้งนี้จึงขอกล่าวเพิ่มเติมว่า การแพทย์จีนยังมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา ๒๔ ชั่วโมงใน ๑ วันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านมาอวัยวะภายในของร่างกาย จีนเรียกว่า “จั้ง-ฝู่ ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะตันและอวัยวะกลวง
อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว
การไหลเวียนของพลังชีวิต(ลมปราณ)ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลา ๒ ชั่วโมง ทั้งหมดมี ๑๒ อวัยวะ รวม ๒๔ ชั่วโมง คือ ๑ วัน เรียกว่า นาฬิกาของอวัยวะภายใน (organ clock) เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ผู้เขียนขอแยกให้ท่านผู้อ่านเห็นอย่างชัดเจนของช่วงเวลากับเส้นลมปราณ ดังนี้
จาก การแบ่งช่วงเวลาการไหลเวียนของเส้นลมปราณ ทำให้การแพทย์จีนนำมาใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ รวมทั้งการรักษาผู้ป่วยด้วย ตัวอย่างเช่น การไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่ ๓.๐๐ น. และสูงสุดในช่วงประมาณ ๔.๐๐ น. จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณ ลำไส้ใหญ่เวลา ๕.๐๐ น. การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรอยู่ระหว่างเวลา ๓.๐๐-๕.๐๐ น. ได้มีการศึกษาวิจัย พบว่า ผลของการใช้ยาดิจิทาลิสในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (มีการคั่งของน้ำในปอด) การให้ยาในช่วงเวลา ๔.๐๐ น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐ เท่าของการให้เวลาอื่น เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของพลังหยางและพลังยิน และการเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายใน มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายเราจึงมีกลไกการปรับตัว มีการสร้างสารคัดหลั่ง, ฮอร์โมน, การทำงานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็นหลักพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาวปราศจากโรค
การกิน : โดยปกติทั่วไปการแพทย์จีนได้เสนอว่า ควรกินอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ช่วงเช้าพลังหยางเริ่มเกิด, ร่างกายเริ่มปรับตัวทำงาน จึงต้องเตรียมพลังงานไว้ใช้ในตอนสาย ตอนเที่ยงเป็นช่วงพลังการทำงานร่างกายสูงสุด การกินจะหนักกว่ามื้ออื่นในขณะที่ตอนเย็นค่ำ ไม่ควรกินดึกเกินไปเพราะไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน และร่างกายพักผ่อน, หลับนอน มิฉะนั้นจะทำให้ร่างกายไม่มีเวลาพักอย่างเต็มที่ ทำให้เสื่อมเร็ว
การทำงาน-การพักผ่อนให้ พอเหมาะ นอนแต่หัวค่ำและตื่นนอนแต่เช้า ตื่นนอนแต่เช้า อุ่นเครื่อง (ออกกำลังกาย) เป็นการปรับสภาพร่างกายให้เพิ่มพลังหยาง เพื่อเตรียมรับกับสภาพการทำงานในช่วงกลางวัน และช่วงกลางวันควรทำงาน ช่วงกลางคืนควรพักผ่อน หลับนอน ช่วงที่พลังร่างกายแกร่งเป็นช่วงที่ควรใช้พลัง ช่วงที่ร่างกายมีสภาพพัก สรีระของร่างกายค่อนข้างสงบ ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับทำงาน ควรจะพักผ่อน การไม่ได้นอนหลับกลางคืนหรือเที่ยวกลางคืนจึงเป็นวิถีชีวิตในการบั่นทอน สุขภาพอย่างมาก
เรื่องกิจกรรมทางเพศเป็นทั้งภาวะผ่อนคลายขณะ เดียวกันก็มีการสูญเสียพลัง เพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมช่วยให้มีการพักผ่อนและหลับสบาย แต่เพศสัมพันธ์ที่มากเกินไปทำลายสุขภาพ นอกจากจะเสียพลังแล้วยังสูญเสียสารจำเป็นซึ่งจะทำลายอวัยวะภายใน คือ ไต (ทัศนะแพทย์จีนไม่ได้หมายถึงไตในเชิงกายวิภาค แต่รวมถึงต่อมหมวกไต และระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องด้วย) ทำให้เมื่อยล้า, ปวดเอว, เข่าอ่อนแรง, มึนงง, ไม่มีแรง, เสียงดังในหู, กามตายด้าน, หลั่งเร็ว หรืออาการประจำเดือนไม่ปกติในสตรี
กิจกรรมทางเพศจึงควรเสริมการพักผ่อน, หลับนอน ไม่ใช่ไปเพิ่มการสูญเสียพลังและสารจำเป็น ซึ่งจะกระทบกระเทือนสุขภาพในระยะยาว
หลัก การปฏิบัติตัวให้เกิดสมดุลและเหมาะสมกับสภาพเงื่อนไขของเวลา, บุคคล, สภาพแวดล้อม และดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มากไป, น้อยไป คือ สมดุลของชีวิตที่ทำให้มีสุขภาพที่ดีและยืนยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น